ชอบพูดแทรก อาการเสี่ยง ผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ วิธีรักษา.

บางคนไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำว่าตัวเองมีพฤติกรรม "ชอบพูดแทรก"คู่สนทนา ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยดีนักในวงสนทนาที่อาจหมดสนุกได้ ซึ่งรู้หรือไม่นั้นคือหนึ่งในสัญญาณ “โรคสมาธิสั้น”ที่ต้องปรับแก้ด้วยพฤติกรรม

โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่

รู้หรือไม่? การพูดแทรกเป็นหนึ่งใน อาการของโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ พบได้ถึง 4-5 % ในวัยผู้ใหญ่ ผู้ป่วยที่เป็นโรคสมาธิสั้นมักไม่รู้ตัวและไม่สามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน จนถึงไม่สามารถวางแผนระบบระเบียบในชีวิตได้

โรคสมาธิสั้นเกิดจากสารโดพามีนในสมองทำงานผิดปกติ ซึ่งโรคสมาธิสั้นเป็นโรคที่เกิดขึ้นในวัยเด็กและจะสืบต่อเนื่องไปจนถึงวัยผู้ใหญ่

พฤติกรรม ชอบพูดแทรก เสี่ยงโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ โดยไม่รู้ตัว
photo by Freepik

โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท 

ผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นที่มีอาการมาตั้งแต่เด็ก

แต่ได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดี เมื่อเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ อาการของโรคจะถือว่าค่อนข้างอยู่ในเกณฑ์ปกติ สามารถใช้ชีวิตได้ปกติตามวัยทว่าก็อาจจะมีอาการของโรคสมาธิสั้นหลงเหลือให้เห็นอยู่บ้าง

เช่น ขี้หงุดหงิด เครียดง่าย ขี้โมโห หรือมีเรื่องกับญาติพี่น้องและเพื่อนร่วมงานบ่อย ๆ ทำให้ต้องเปลี่ยนงานอยู่เรื่อย รวมทั้งอาจมีนิสัยชอบใช้จ่ายฟุ่มเฟือย แต่เคสนี้มักจะสามารถควบคุมตนเองได้พอสมควร หรืออาจมีความคิดสร้างสรรค์และสติปัญญาดีด้วยในบางคน

ผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นที่ไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องมาตั้งแต่เด็ก

หรืออาจได้รับความกดดันจากผู้ใกล้ชิด ทำให้มีพัฒนาการที่ช้าลงเรื่อย ๆ จนกลายเป็นผู้มีอารมณ์ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน ต้องประคับประคองอาการผิดปกติเหล่านี้ด้วยยาเป็นประจำ แต่ก็ยังอยู่ในขอบข่ายที่ใช้ชีวิตในสังคมได้ เพียงแต่ควรต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ

ผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นที่ไม่รู้ตัวเองว่าเป็นโรค

เคสนี้ในวัยเด็กจะดูปกติและฉลาดสมวัย ทำให้ไม่มีใครฉุกคิดว่าพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น ก้าวร้าว อันธพาล ชอบความรุนแรง และไม่คิดก่อนทำของผู้ป่วยเป็นอาการของโรค

แต่เข้าใจไปว่าเป็นแค่เพียงลักษณะนิสัยปกติเท่านั้น จนในที่สุดก็ไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง และอาจเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีปัญหาชีวิต มีปัญหาการเข้าสังคม และไม่ประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงาน

5 อาการโรคสมาธิสั้นที่พบบ่อยในวัยทำงาน

  1. เหม่อลอยเวลาทำงาน วอกแวก ฟังอะไรจับใจความไม่ค่อยได้
  2. ขี้หลง ขี้ลืม และมีปัญหาในการจัดระเบียบตนเอง เช่น ห้องรก หาอะไรไม่เคยเจอ
  3. ชอบพูกแทรกคู่สนทนาอยู่เสมอ หุนหันพลันแล่น
  4. เบื่อง่าย มีความรู้สึกอึดอันเมื่อต้องประชุมนานๆ
  5. มีปัญหาด้านอารมณ์ เครียด หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล นอนไม่หลับ

วิธีรักษา

การรักษาที่ดีที่สุดคือการปรับพฤติกรรม ซึ่งต้องทำอยู่สม่ำเสมอเพื่อให้เกิดความรู้สึกว่าสามารถควบคุมตนเองให้ทำสิ่งต่างๆให้สำเร็จ ลุล่วง เช่น การจดรายละเอียดของงานต่างๆ ด้วยการติดป้ายหรือโน๊ตเล็กๆเพื่อเตือนความจำอยู่เสมอ

นอกจากนี้การเรียนรู้ทักษะการฝึกอารมณ์ให้มีความอดทนรอคอยให้ได้ระยะนานขึ้นเรื่อยๆเช่น เมื่อรู้ว่าตนเองกำลังหงุดหงิดให้เดินออกไปสงบสติอารมณ์สักพัก แทนที่จะแสดงอารมณ์ออกมาโต่งๆ ปรับวันละนิดโดยไม่รีบร้อน ถ้าเรามีวินัยและหมั่นฝึกควบคุมอารมณ์อยู่เสมอ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม »

คลิกดิ้! อัปเดตเทรนด์ทุกไลฟ์สไตล์ พร้อมเสิร์ฟสาระดีๆ ที่ให้คุณเพลิดเพลินกับไอเดียใหม่ๆ ได้ทุกวัน แนะนำสินค้าไลฟ์สไตล์ สินค้ามาใหม่ล่าสุด มาแรง ข้อมูลสินค้ายอดนิยม ราคาและโปรโมชั่นล่าสุด ช้อปปิ้งออนไลน์ ได้ของดี ราคาถูก จัดส่งเร็ว เก็บโค้ดส่วนลด โค้ดส่งฟรี คูปองเงินคืน ส่วนลด โปรโมชันพิเศษล่าสุด เปรียบเทียบข้อมูลและราคาสินค้า อัปเดตล่าสุด

Popular Posts

ชุดคิท วงจรปรีโทนคอนโทรล ยี่ห้อไหนดี? วงจรปรีแอมป์ วงจรปรีโทนเสียงดี ราคาถูก.

วิธีเลี้ยงปลาออสก้า รวมกับปลาอะไรได้บ้าง อาหารปลาออสก้าชอบกินอะไร ยี่ห้อไหนดี.

แมวดาว' ชื่อวิทยาศาสตร์, ชื่อภาษาอังกฤษ ลักษณะ กินอะไร ถิ่นที่อยู่อาศัย สถานภาพ.

เสื้อชั้นใน ใบเฟิร์น พิมพ์ชนก รุ่นใหม่ล่าสุด Sabina Braless เสื้อใน ชุดชั้นใน ราคาถูก.

วิธีทำน้ำหมักปลากัด หมักด้วยอะไร มีกี่สูตร ประโยชน์ สรรพคุณ วิธีใช้น้ำหมักใบหูกวาง.

ปลาสอด สายพันธุ์ต่างๆ มีกี่พันธุ์' อะไรบ้าง ปลาแพลทตี้ วิธีเลี้ยงยังไง? ออกลูกเป็นตัว.

นกเอี้ยงหงอน ชื่อวิทยาศาสตร์, ชื่อสามัญ? (นกเอี้ยงเลี้ยงควาย, นกเอี้ยงดำ) กินอะไร.

ปลากราย, ปลาตองลาย, ปลาสะตือ, สลาด ลักษณะเด่น ความแตกต่างกัน อย่างไรบ้าง.

เครื่องขัดส้นเท้า ฝ่าเท้า สกอลล์ Scholl Velvet Smooth ใช้ดีไหม วิธีใช้ ดูแลเท้า.

ปลาซิวเจ็ดสี (ซิวใบไผ่มุก) ชื่อวิทยาศาสตร์ ลักษณะเด่น วิธีเลี้ยง กินอะไรเป็นอาหาร.