นกกระทาดงคอสีแสด ลักษณะ สถานภาพ? ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ กินอะไร อาหาร.
เนื้อหาข้อมูล"นกกระทาดงคอสีแสด"
- นกกระทาดงคอสีแสด คืออะไร
- นกกระทาดงคอสีแสด กินอะไร
- ชื่อวิทยาศาสตร์
- อนุกรมวิธาน
- ลักษณะทั่วไป
- การสืบพันธุ์
- อุปนิสัย
- การแพร่กระจาย
- สถานภาพ
นกกระทาดงคอสีแสด คืออะไร
นกกระทาดงคอสีแสด คือสัตว์ป่าชนิดหนึ่งในกลุ่มนกประจำถิ่น ซึ่งดำรงชีวิตอาศัยอยู่ตามธรรมชาติในป่าของประเทศไทย มีสถานภาพทางกฎหมาย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของไทย
นกกระทาดงคอสีแสดเป็นสัตว์มีแกนสันหลังซึ่งอยู่ในกลุ่มสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง โดยอยู่ในจำพวกสัตว์จำพวกนก ซึ่งสัตว์จำพวกนี้เป็นสัตว์เลือดอุ่น หายใจโดยใช้ปอด มีจะงอยปากแข็ง ฟันลดรูป กระดูกทั่วร่างกายเป็นโพรง ซึ่งทำให้มีน้ำหนักเบา ขาคู่หน้าพัฒนาไปเป็นปีก มีปีก 1 คู่ มีขา 1 คู่ มีรูปร่างเพรียวปกคลุมด้วยขน มีขนเป็นแผง มีเกล็ดที่ขาและนิ้วเท้า ทำรังวางไข่บนบก ไข่มีเปลือกแข็งหุ้ม
นกกระทาดงคอสีแสด กินอะไร
นกกระทาดงคอสีแสด; ภาพโดย Lawrence Neo.
นกกระทาดงคอสีแสด หากินตามพื้นดินโดยการคุ้ยเขี่ยลักษณะคล้ายไก่ อาหารนกกระทาดงคอสีแสด กินเมล็ดพืช ผลไม้ แมลงและสัตว์ขนาดเล็กที่อยู่ตามพื้นดิน โดยเฉพาะปลวก
ชื่อวิทยาศาสตร์
นกกระทาดงคอสีแสด ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Arborophila rufogularis (Blyth, 1850) เป็นพันธุ์สัตว์ในสกุล Arborophila ซึ่งอยู่ในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา (Phasianidae) โดยสัตว์ในวงศ์นี้อยู่ในอันดับไก่ (Galliformes)
นอกจากชื่อ นกกระทาดงคอสีแสด นี้แล้ว ยังมีชื่อสามัญ ภาษาอังกฤษ ว่า Rufous-throated Partridge, Rufous-throated Hill Partridge, Rufous-throated Tree Partridge.
ความหมายของชื่อและการค้นพบ
ชื่อชนิดเป็นคำที่มาจากรากศัพท์ภาษาลาตินคือ ruf, esc, หรือ rutus แปลว่าสีแดง หรือสีออกแดง และ olaris (gol) แปลว่าคอหอย ความหมายตามชื่อชนิดจึงหมายถึง "นกที่คอหอยมีสีแดงหรือสีออกแดง" เป็นชนิดที่พบครั้งแรกในเมือง Darjeeling แคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย
ทั่วโลกมีนกกระทาคงคอสีแสด ชนิดย่อย ประเทศไทยพบเพียงชนิดย่อย เดียวคือ Arborophila rufogula ristickelli (Hume) ชื่อชนิดย่อยเป็นคำที่ดัดแปลงมาจากชื่อของ บุคคลคือ S.Richand Tickell (1811-1875) นักปักษีวิทยาชาวอังกฤษ เป็นชนิดย่อยที่พบครั้ง แรกที่ Mt.Mulayit ในตอนใต้เทือกเขาตะนาวศรี ในประเทศพม่า
อนุกรมวิธาน (Taxonomy)
- อาณาจักร (Kingdom) : Animalia
- ไฟลัม (Phylum) : Chordata
- ไฟลัมย่อย (Subphylum) : Vertebrata
- ชั้น (Class) : Aves
- อันดับ (Order) : Galliformes
- วงศ์ (Family) : Phasianidae
- สกุล (Genus) : Arborophila
ลักษณะทั่วไป
นกกระทาดงคอสีแสด มีลักษณะเป็นนกที่มีนาดเล็ก (27-28 ชม.) ตัวผู้และตัวเมียลักษณะและสีสันเหมือนกัน โดยตัวเต็มวัยด้านบนลำตัวสีน้ำตาลแกมเขียว มีลายจุดสีด้าบริเวณหลังตอนท้าย ตะโพก และหาง
บริเวณไหล่และขนปกคลุมปีกบางส่วนมีสีสลับดำและน้ำตาลแดง คอหอยและรอบคอสีน้ำตาลแดงแกมสีส้ม และมีลายจุดสีดำรอบๆ อกและต้นขาสีเทาเข้ม ท้องสีจางกว่าเล็กน้อย ขาอ่อนและขนปกคลุมได้ทางสีน้ำตาลแกมเขียว และมีลายขวางสีดำเล็กน้อย
นกที่ยังไม่เต็มวัยจะมีลายจุดสีเนื้อบริเวณปีก ด้านล่างลำตัวสีน้ำตาลและมีลายจุดสีเนื้อและสีขาว
การสืบพันธุ์
การสืบพันธุ์ของนกกระทาดงคอสีแสด จะเริ่มผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อน หรือระหว่างเดือน มีนาคม-พฤษภาคม ทำรังตามพื้นหินบริเวณซุ้มกอหญ้า หรือพืชต่างๆ ด้วยการขุดดินให้เป็น แอ่ง อาจมีใบหญ้าหรือใบไม้มารองตรงแอ่ง หรือไม่มีวัสดุใดๆ
ไข่มีรูปร่างเป็นรูปไข่ ขนาดโดยเฉลี่ย 29.8 x 39.2 มม. ไข่สีขาว ในแต่ละรังมีไข่ 3-5 ฟอง ตัวเมียตัวเดียวที่ทำการฟักไข่ โดยเริ่มฟักไข่เมื่อออกไข่ฟองสุดท้ายแล้ว ระยะเวลาฟักไข่ทั้งสิ้น 20-21 วัน
ลูกนกที่ออกจากไข่ใหม่ๆ ลืมตา มีขนอุยปกคลุมทั่วลำตัว สามารถที่จะยืนหรือเดินได้เมื่อขนแห้ง หรือประมาณ 3-4 ชั่วโมงหลังออกจากไข่
นกทั้ง 2 เพศจะช่วยกันเลี้ยงดูลูกๆ ด้วยการพาเดินคุ้ยเขี่ยหาอาหารตามพื้นดิน ตัวผู้จะคอยป้องกันอันตรายต่างๆ ให้ หรือร้องเตือนให้ตัวเมียและลูกๆเมื่อมีภัย ระยะเวลาเลี้ยงลูกประมาณ 1-2 เดือน จากนั้นลูกๆก็จะแยกออกไปหากินตามลำพัง
อุปนิสัย
นกกระทาดงคอสีแสด เป็นนกที่มีกิจกรรมต่างๆและหากินในตอนกลางวัน พบโดดเดียว เป็นคู่ หรือ เป็นฝูงเล็กๆ โดยพบตามป่าดงดิบเขา ในระดับความสูง 1,200-2,590 เมตร จากระดับน้ำทะเล
นกกระทาดงคอสีแสด เป็นนกที่บินได้ดี เมื่อมี ศัตรูหรือสิ่งรบกวนจะบินหนีในระดับต่ำกว่ายอดไม้ และในระยะทางที่ไกลพอสมควร จากนั้นก็จะลงพื้นดินอีก ในตอนกลางคืนจะบินขึ้นไปเคาะนอนตามกิ่งไม้ เป็นนกที่มีนิสัยในการป้องกันอาณาเขตด้วยการส่งเสียงร้องหรือขัน และโจมตีลักษณะคล้ายไก่ เมื่อตัวอื่นๆ โดยเฉพาะในเพศเดียวกันเข้ามาในอาณาเขตที่มันครอบครองอยู่
การแพร่กระจาย
เขตแพร่กระจายของนกกระทาดงคอสีแสด มีถิ่นกำเนิดในอินเดียตอนเหนือ จีนด้าน ตะวันตกเฉียงได้ ในเอเชียตะวันออกเฉียงได้พบในพม่า ไทย เวียดนาม และลาว
สถานภาพ
นกกระทาดงคอสีแสด เป็นนกประจำถิ่นของไทย พบเฉพาะในภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางส่วน พบไม่บ่อยและปริมาณไม่มากนัก มีสถานภาพทางกฎหมายเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ที่มา : กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า, สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.