ตะพาบม่านลาย. ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ลักษณะ กินอะไร, ถิ่นที่อยู่อาศัย สถานภาพ
เนื้อหาข้อมูล "ตะพาบม่านลาย"
- ตะพาบม่านลาย คืออะไร
- ชื่อวิทยาศาสตร์
- ลักษณะทั่วไป
- การสืบพันธุ์
- ถิ่นที่อยู่อาศัย
- ตะพาบม่านลาย กินอะไร
- การแพร่กระจาย
- สถานภาพ
- ปัจจัยคุกคาม
ตะพาบม่านลาย คืออะไร
ตะพาบม่านลาย เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลัง ที่จัดอยู่ในจำพวกสัตว์เลื้อยคลาน มีชื่ออื่นที่เรียกแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นอีกว่า กริวลาย, กราวด่าง, ม่อมลาย, มั่มลาย
มีชื่อสามัญ (common name) ภาษาอังกฤษ ว่า Thai Giant Softshell Turtle, Striped Narrow-headed Softshell Turtle, Southeast Asian narrow-headed softshell turtle, Nutaphand's Narrowhead Softshell.
ชื่อวิทยาศาสตร์
ตะพาบม่านลาย มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Chitra chitra Nutphand, 1986 อยู่ในสกุล Chitra วงศ์ Trionychidae
ตะพาบม่านลาย Chitra chitra; ภาพโดย zooinstitutes.com.
อนุกรมวิธาน (Taxonomy)
- อาณาจักร (Kingdom) : Animalia
- ไฟลัม (Phylum) : Chordata
- ซับไฟลัม (Subphylum) : Vertebrata
- ชั้น (Class) : Reptilia
- ลำดับ (Order) : Chelonia (Testudines)
- วงศ์ (Family) : Trionychidae
- สกุล (Genus) : Chitra
ลักษณะทั่วไป
ตะพาบม่านลาย มีลักษณะ จมูกยื่นเป็นหลอด กระดองอ่อนนุ่มติดกับลำตัว หัวยาวเรียว ตาอยู่ใกล้ส่วนปลายสุดของหัว กระดอง ส่วนบนสีนํ้าตาลเทาออกเหลือง มีลายเส้นหนาสีนํ้าตาลอ่อนชอบสีนํ้าตาลเข้มบนหัว คอ และกระดองบน โดย บริเวณฐานคอมีลายรูปอักษรวี (V) มีสีอ่อนตามขอบกระดอง ส่วนท้องจะมีสีขาวหรือ ขาวอมชมพู กระดองส่วนบนยาวเต็มที่ 122 เซนติเมตร น้ำหนัก 100-120 กิโลกรัม
การสืบพันธุ์
การสืบพันธุ์ของตะพาบม่านลาย วางไข่บนหาดทรายริมแหล่งน้ำ โดยขุดหลุมลึก 40-50 เซนติเมตร เมื่อออกไข่เสร็จแล้วจะปิดทรายไว้ ปากหลุม ระยะเวลาฟักไข่นาน 55-65 วัน เชื่อว่ามีอายุยืนยาวได้กว่า 100 ปี
ถิ่นที่อยู่อาศัย
ตะพาบม่านลาย มีถิ่นที่อยู่อาศัย พบในแม่น้ำแคว แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำปิง บริเวณที่น้ำใส และท้องน้ำเป็นทราย
ตะพาบม่านลาย กินอะไร
อาหารของตะพาบม่านลาย กินสัตว์ ได้แก่ ปลา และกุ้ง ในธรรมชาติจะหาเหยื่อด้วยวิธีการซุ่ม โดยฝังตัวอยู่ใต้ทรายในพื้นน้ำ โผล่มาแต่เฉพาะตาและจมูกเท่านั้น
การแพร่กระจาย
การแพร่กระจายของตะพาบม่านลาย พบในประเทศไทย มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย สำหรับการกระจายพันธุ์ในประเทศไทย พบตะพาบม่านลายที่ ตาก (เขื่อนภูมิพล); กาญจนบุรี (แม่น้ำแม่กลองและสาขา), ราชบุรี (แม่น้ำภาชี)
สถานภาพ
ตะพาบม่านลาย มีสถานภาพทางกฎหมาย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎกระทรวง กำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็น สัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ.2546
IUCN (2011) จัดสถานภาพการอนุรักษ์ (Conservation status) เป็น สัตว์ที่ใกล้ สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (CR - Critically Endangered)
การคุ้มครองตามอนุสัญญา CITES (2011) จัดอยู่ในบัญชี 2 (Appendix II)
ปัจจัยคุกคาม
ตะพาบม่านลายมีปัจจัยคุกคามคือ เนื้อและกระดองถูกใช้เป็นอาหาร และเป็นส่วนประกอบยาจีน
ที่มา : กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า, สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.