ว่านเพชรม้าอีสาน. พันธุ์พืชชนิดใหม่' 2566 ชื่อวิทยาศาสตร์, ลักษณะเด่น กระจายพันธุ์
ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ"ว่านเพชรม้าอีสาน"
- ว่านเพชรม้าอีสาน คืออะไร?
- ชื่อวิทยาศาสตร์?
- ลักษณะทางพฤกษศาสตร์?
- ออกดอกช่วงเดือนไหน?
- การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย?
- การใช้ประโยชน์และสรรพคุณ?
- สถานภาพของว่านเพชรม้าอีสาน?
ว่านเพชรม้าอีสาน คืออะไร?
ว่านเพชรม้าอีสาน คือพืชชนิดหนึ่งในกลุ่มกระเจียว หรือ ว่านเพชรม้าของไทย ซึ่งเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว (Monocots) ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในประเทศไทย ว่านเพชรม้าอีสานเป็นพืชที่มีท่อลำเลียง (Vascular plants) ซึ่งอยู่ในหมวดพืชมีเมล็ด (Spermatophytes) โดยอยู่ในกลุ่มพืชดอก (Flowering plants) หรือ Angiosperms ซึ่งเป็นกลุ่มของพืชที่มีดอก มีรังไข่ และมีส่วนที่เรียกว่าออวุล (Ovule) เมื่อเกิดการปฏิสนธิ ออวุลจะเจริญไปเป็นเมล็ด และรังไข่ก็จะเจริญไปเป็นผล (Fruit) เพื่อห่อหุ้มเมล็ดนั้นไว้สำหรับการขยายพันธุ์พืชด้วยเมล็ดพันธุ์ต่อไป
ชื่อวิทยาศาสตร์?
ว่านเพชรม้าอีสาน ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Curcuma rubroaurantiaca Škorničk. & Soonthornk. เป็นพันธุ์พืชในสกุล Curcuma ซึ่งอยู่ในวงศ์ขิง (Zingiberaceae) โดยพืชวงศ์นี้อยู่ในอันดับ Zingiberales.
ว่านเพชรม้าอีสาน Curcuma rubroaurantiaca
ดร. ศุทธิณัฏฐ์ สุนทรกลัมพ์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่าจากการลงพื้นที่สำรวจ ประชากรของกระเจียวบางส่วนขึ้นอยู่ในพื้นที่นอกเขตอนุรักษ์ ทำให้สุ่มเสี่ยงต่อการถูกทำลายจากการทำการเกษตรและการเก็บออกจากธรรมชาติได้
ทางคณะผู้วิจัยมีแผนที่ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อเป็นการอนุรักษ์นอกถิ่นอาศัยและรักษาพันธุกรรม ณ คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร เพื่อใช้ประโยชน์ในการศึกษาวิจัยในอนาคตต่อไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์?
ว่านเพชรม้าอีสาน มีลักษณะเป็นพืชล้มลุกสูงประมาณ 60 ซ.ม. มีลักษณะคล้ายกับว่านเพชรม้าล้านนา แต่แตกต่างกันที่ใบด้านไกลแกน (ท้องใบ) มีขนละเอียดปกคลุมหนาแน่น
ช่อดอกประกอบด้วยใบประดับประมาณ 14 ใบ มีสีเขียวอ่อน สีขาวครีมหรือสีแดง ไม่มีใบประดับย่อย กลีบปาก สเตมิโนดและอับเรณูมีสีเหลืองส้ม กลีบดอกมีสีแดง เกสรเพศผู้มีความยาว 19-22 มม. มีสันอับเรณูมีความยาว 2-3 มม. มีร่องที่กึ่งกลางของสันอับเรณู
ออกดอกช่วงเดือนไหน?
ว่านเพชรม้าอีสาน ออกดอกช่วงเดือนมิถุนายนถึงกันยายน
การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย?
ว่านเพชรม้าอีสาน มีการกระจายพันธุ์ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยพบมากที่จังหวัดสกลนครและเลย นอกจากนี้ยังมีรายงานพบที่จังหวัดชัยภูมิและเพชรบูรณ์อีกด้วย
การใช้ประโยชน์และสรรพคุณ?
การใช้ประโยชน์จากว่านเพชรม้าอีสาน ลักษณะของดอกที่มีสีสันสวยงามทำให้กระเจียวดังกล่าวมีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นไม้ประดับได้
สถานภาพ ว่านเพชรม้าอีสาน?
จากข้อมูลการสำรวจประชากรและการใช้ประโยชน์ของว่านเพชรม้าอีสาน พบว่ายังไม่มีการใช้ประโยชน์โดยคนท้องถิ่นทำให้มีแนวโน้มถูกคุกคามไม่มากนัก และประชากรในธรรมชาติจำนวนมากยังพบอยู่พื้นที่อนุรักษ์ ทำให้สามารถกำหนดสถานการอนุรักษ์เบื้องต้นได้ในที่ระดับความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ (Least Concern; LC)
ที่มา : Kasetsart University