ปรงป่า,ปรงนา,ปรงเหลี่ยม' ชื่อวิทยาศาสตร์ ลักษณะ ประโยชน์ กระจายพันธุ์ สถานภาพ

เนื้อหาข้อมูล "ปรงป่า"

ปรงป่า คืออะไร

ปรงป่า เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของไทยชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อไทยเป็นชื่อทางการว่า "ปรงเหลี่ยม" (อ้างอิงตามหนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557)

ยังมีชื่ออื่นที่เรียกแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น อีกหลายชื่อ เช่น กุ้นผง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); โกโล่โคดึ, ตาซูจือดึ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); ตาลปัตรฤๅษี (ภาคตะวันตกเฉียงใต้); ปรงป่า, ปรงนา (ภาคกลาง); ปรงเหลี่ยม (ตราด); ผักกูดบก (ภาคเหนือ) และมีชื่อสามัญ (common name) ภาษาอังกฤษ ว่า Thai sago

ชื่อวิทยาศาสตร์ ปรงป่า

ปรงป่า มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Cycas siamensis Miq. อยู่ในสกุล Cycas วงศ์ Cycadaceae

ปรงเหลี่ยม Thai sago ชื่อวิทยาศาสตร์ Cycas siamensis

ต้นปรงเหลี่ยมในธรรมชาติที่กาญจนบุรี; ภาพโดย Yvonne Dalziel.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ปรงป่า มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม สูง 0.5-2 ม. ลำต้นคล้ายต้นปาล์ม มีเกล็ดหุ้มยอด โคนลำต้นกลวง เปลือกต้นมีตุ่มเกล็ดสีน้ำตาล หรือแตกเป็นร่อง ตามยาว ใบประกอบแบบขนนก เรียงเวียน หนาแน่นช่วงปลายลำต้น ยาว 0.6-1.2 ม. ก้านใบยาว 10-30 ซม. มีหนาม มี ใบย่อย 70-100 คู่ เรียงสลับหรือเกือบตรงข้าม สีเขียวเข้มจนถึงสีเทา รูปแถบ ปลายแหลมเป็นหนาม แผ่นใบหนา ใบอ่อน มีขนสั้นนุ่มหนาแน่น ไม่มีเส้นใบย่อย ใบย่อยช่วงล่างลดรูปเป็นหนาม

โคนแยกเพศต่างต้น โคนเพศผู้เกิดที่ยอด รูปขอบ ขนาน กว้าง 6-8 ซม. ยาว 10-20 ซม. มีกลิ่นเหม็นฉุน โคนเพศเมียเกิดใต้ใบและแผ่เรียงเป็นกลุ่มคล้ายกระจุกแบบ กุหลาบซ้อน กว้าง 12-20 ซม. ขอบจักลึกคล้ายหนาม มีขนสีน้ำตาลอมเหลืองปกคลุมแน่น ตอนล่างมีไข่อ่อนติดอยู่ ผล (ไม่มีผลหุ้มเมล็ด) เมล็ดรูปกลมรี ขนาด 3-3.7 ซม. มีออวุล 2 เม็ด เมื่อแก่มีสีเหลืองอมส้ม ผนังด้านในมีชั้นใย

ออกโคนช่วงเดือนไหน?

ปรงป่า ออกโคนช่วงเดือน ก.พ.-พ.ย.

การกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา

การกระจายพันธุ์ของปรงป่า พบได้ทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ พบในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และเขาหินปูน ความสูง 100-400 ม.

การใช้ประโยชน์และสรรพคุณ

  • ราก: มีปมเป็นกิ่งแผ่ฝอย ช่วยจับไนโตรเจนในดินได้ดี
  • เมล็ด: มีแป้งใช้รับประทานได้
  • ทั้งต้น: ปลูกเป็นไม้ประดับ

สถานภาพของปรงป่า

ปรงป่า เป็นพรรณไม้ที่มีสถานภาพการอนุรักษ์ คือ มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable)

ที่มา : สุนันทา วิสิทธิพานิช, พงษ์ศักดิ์ พลเสมา, มานพ ผู้พัฒน์, สันติ สาระพล. (2564). พรรณไม้ป่าผลัดใบห้วยขาแข้ง. สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม »

คลิกดิ้! อัปเดตเทรนด์ทุกไลฟ์สไตล์ พร้อมเสิร์ฟสาระดีๆ ที่ให้คุณเพลิดเพลินกับไอเดียใหม่ๆ ได้ทุกวัน แนะนำสินค้าไลฟ์สไตล์ สินค้ามาใหม่ล่าสุด มาแรง ข้อมูลสินค้ายอดนิยม ราคาและโปรโมชั่นล่าสุด ช้อปปิ้งออนไลน์ ได้ของดี ราคาถูก จัดส่งเร็ว เก็บโค้ดส่วนลด โค้ดส่งฟรี คูปองเงินคืน ส่วนลด โปรโมชันพิเศษล่าสุด เปรียบเทียบข้อมูลและราคาสินค้า อัปเดตล่าสุด

Popular Posts

วิธีเลี้ยงปลาออสก้า รวมกับปลาอะไรได้บ้าง อาหารปลาออสก้าชอบกินอะไร ยี่ห้อไหนดี.

ปลาสอด สายพันธุ์ต่างๆ มีกี่พันธุ์' อะไรบ้าง ปลาแพลทตี้ วิธีเลี้ยงยังไง? ออกลูกเป็นตัว.

ชุดออเจ้า แม่พุดตาน "พรหมลิขิต" ชุดไทย บุพเพสันนิวาส, ชุดแม่การะเกด ชุดพุดตาล.

ชุดคิท วงจรปรีโทนคอนโทรล ยี่ห้อไหนดี? วงจรปรีแอมป์ วงจรปรีโทนเสียงดี ราคาถูก.

เสื้อชั้นใน ใบเฟิร์น พิมพ์ชนก รุ่นใหม่ล่าสุด Sabina Braless เสื้อใน ชุดชั้นใน ราคาถูก.

สาวสนม 'ดงนาทาม' ดอกสีชมพูอมม่วง วนอุทยานน้ำตกผาหลวง จ.อุบลราชธานี

ลําโพงร้องคาราโอเกะ, ชุดคาราโอเกะบ้าน เครื่องเสียงคาราโอเกะ เสียงดี ยี่ห้อไหนดี.

วิธีเลี้ยงปลาหางนกยูง'ให้อาหารวันละกี่ครั้ง กินอะไรได้บ้าง? สูตรอาหารปลาหางนกยูง.

วิธีทำน้ำหมักปลากัด หมักด้วยอะไร มีกี่สูตร ประโยชน์ สรรพคุณ วิธีใช้น้ำหมักใบหูกวาง.

นกเอี้ยงหงอน ชื่อวิทยาศาสตร์, ชื่อสามัญ? (นกเอี้ยงเลี้ยงควาย, นกเอี้ยงดำ) กินอะไร.