บุหรงภูหลวง ออกดอกเดือนไหน ไม้หายาก ชื่อวิทยาศาสตร์, พรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย
เนื้อหาข้อมูล "บุหรงภูหลวง"
- บุหรงภูหลวง คืออะไร
- ชื่อวิทยาศาสตร์ บุหรงภูหลวง
- ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- ออกดอกช่วงเดือนไหน?
- การกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา
- การใช้ประโยชน์และสรรพคุณ
- สถานภาพของบุหรงภูหลวง
บุหรงภูหลวง คืออะไร
บุหรงภูหลวง เป็นพรรณไม้ไทยชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อไทยเป็นชื่อทางการว่า "บุหรงภูหลวง" (อ้างอิงตามหนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557)
ชื่อวิทยาศาสตร์ บุหรงภูหลวง
บุหรงภูหลวง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Dasymaschalon echinatum Jing Wang & R.M.K.Saunders อยู่ในสกุล Dasymaschalon วงศ์ Annonaceae
บุหรงภูหลวง Dasymaschalon echinatum; ภาพโดย ราชันย์ ภู่มา.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
บุหรงภูหลวง มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม สูงได้ถึง 3 ม. เปลือกนอกสีน้ำตาลเทามีช่องอากาศชัดเจน กิ่งอ่อนมีขน ประปราย กิ่งแก่เกลี้ยง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรูปไข่ถึงรูปไข่ กว้าง 4.5-7 ซม. ยาว 9-19 ซม. ปลาย แหลมหรือมน โคนเว้า ขอบใบเรียบ ม้วนโค้งลงด้านล่าง แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน วาว ด้านล่างมีนวล ใบแก่ก่อนร่วงสีเหลือง ก้านใบ ยาว 4-10.5 มม.
ดอกบุหรงภูหลวง
ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ก้านดอก ยาว 6-15 มม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีน้ำตาลแดง มีชั้นละ 3 กลีบ กลีบเลี้ยงคล้ายรูปหัวใจ
กลีบดอก เชื่อมประกบกันเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมแกมรูปหลอด กว้างประมาณ 1.2 ซม. ยาวประมาณ 4 ซม. ส่วนปลายโค้ง หรือบิดเล็กน้อยเกสรเพศผู้จำนวนมาก เชื่อมกันเป็นกลุ่ม โคนก้านชูอับเรณูเชื่อมติดกัน ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่ม
ผลแบบผลกลุ่ม ผลย่อยรูปลูกปัด กว้าง 0.5-0.6 มม. ยาว 2-3 ซม. สีน้ำตาลแดง เมื่อสุกสีดำ ก้านผลย่อย ยาว 1-2 ซม.
ออกดอกช่วงเดือนไหน?
บุหรงภูหลวง ออกดอกช่วงเดือน พฤษภาคม-กรกฎาคม เป็นผลเดือนมิถุนายน-สิงหาคม
การกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา
การกระจายพันธุ์ของบุหรงภูหลวงในประเทศไทย เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ภูหลวง จังหวัดเลย และภูวัว จังหวัดบึงกาฬ พบขึ้นตามชายป่าเต็งรัง ป่าทุ่ง ที่เปิดโล่ง ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขา ความสูง 200–1500 เมตร
การใช้ประโยชน์และสรรพคุณ
การใช้ประโยชน์จากต้นบุหรงภูหลวง ดอกมีลักษณะแปลก สีสวยงาม เป็นไม้แปลก ไม้หายาก มีศักยภาพเป็นไม้ประดับ
สถานภาพของบุหรงภูหลวง
บุหรงภูหลวง เป็นพืชชนิดใหม่ (Wang et al., 2009); ไม่เคยมีการประเมินสถานภาพมาก่อน; ถิ่นที่อยู่อาศัยถูกคุกคาม เป็นพรรณไม้ที่มีสถานภาพ ตามเกณฑ์ IUCN (2001) ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (CR)