นกคุ่มสี ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ลักษณะ อุปนิสัย กินอะไร? ฤดูผสมพันธุ์, สถานภาพ.

เนื้อหาข้อมูล"นกคุ่มสี"

นกคุ่มสี คืออะไร

นกคุ่มสี คือสัตว์ป่าชนิดหนึ่งในกลุ่มสัตว์จำพวกนก ซึ่งเป็นนกประจำถิ่น ที่ดำรงชีวิตอยู่อาศัยตามป่าธรรมชาติในประเทศไทย มีสถานภาพทางกฎหมาย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของไทย

นกคุ่มสีเป็นสัตว์มีแกนสันหลังซึ่งอยู่ในกลุ่มสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง โดยอยู่ในจำพวกสัตว์จำพวกนก ซึ่งสัตว์จำพวกนี้ เป็นสัตว์เลือดอุ่น หายใจโดยใช้ปอด มีจะงอยปากแข็ง ฟันลดรูป กระดูกทั่วร่างกายเป็นโพรง ซึ่งทำให้มีน้ำหนักเบา ขาคู่หน้าพัฒนาไปเป็นปีก มีปีก 1 คู่ มีขา 1 คู่ มีรูปร่างเพรียวปกคลุมด้วยขน มีขนเป็นแผง มีเกล็ดที่ขาและนิ้วเท้า ทำรังวางไข่บนบก ไข่มีเปลือกแข็งหุ้ม

นกคุ่มสี กินอะไร

นกคุ่มสี ชื่อวิทยาศาสตร์ Excalfactoria chinensis (Coturnix chinensis) ชื่อสามัญ ภาษาอังกฤษ Blue-breasted Quail

นกคุ่มสี; ภาพโดย Lawrence Neo.

อาหารนกคุ่มสี กินเมล็ดหญ้า ธัญพืช สัตว์และแมลงเล็กๆที่อยู่ตามพื้นดิน โดยเฉพาะปลวก ด้วยการเดินจิกด้วยปากตามพื้นดิน อาจจะใช้วิธีการคุ้ยเขี่ยอย่างพวกไก่บ้าง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม »

ชื่อวิทยาศาสตร์

นกคุ่มสี ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Excalfactoria chinensis (Linnaeus, 1766) เป็นพันธุ์สัตว์ในสกุล Excalfactoria ซึ่งอยู่ในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา (Phasianidae) โดยสัตว์ในวงศ์นี้อยู่ในอันดับไก่ (Galliformes) มีชื่อพ้องคือ Coturnix chinensis (Linnaeus, 1766)

นอกจากชื่อ นกคุ่มสี นี้แล้ว ยังมีชื่อสามัญ ภาษาอังกฤษ ว่า Blue-breasted Quail, Blue Quail, Indian Blue Quail, King Quail, Painted Quail.

ความหมายของชื่อและการค้นพบ

คำระบุชนิด "chinensis" เป็นคำที่ดัดแปลงมาจากชื่อสถานที่คือ ประเทศจีน ซึ่งเป็นสถานที่ที่พบนกชนิดนี้เป็นครั้งแรก ทั่วโลก มีนกคุ้มสี 9 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบเพียงชนิดย่อยเดียวคือ Coturnix chinensis chinensis (Linnaeus) ที่มาและความหมายของชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชนิด

Howard and Moore (1980) จัดนกคุ่มสีไว้ในสกุล Excalfactoria หรือเขียนเป็นชื่อ วิทยาศาสตร์ว่า Excalfactoria chinensis (Linnaeus) ซึ่งชื่อสกุลเป็นคำในภาษาลาตินคือ excalfactorius แปลว่าอบอุ่น หรือ ร้อน

มีผู้ให้คำอธิบายถึงที่มาของชื่อนี้ว่า ชาวจีนเป็นผู้ที่นิยมเลี้ยงนกชนิดนี้สำหรับฝึกให้ต่อสู้หรือดีกัน นอกจากนี้ยังใช้จับไว้ในอุ้งมือในช่วงที่อากาศหนาวจัด ซึ่งความอบอุ่นของนกจะช่วยบรรเทาความหนาวเหน็บที่มือคนได้

อนุกรมวิธาน (Taxonomy)

  • อาณาจักร (Kingdom) : Animalia
  • ไฟลัม (Phylum) : Chordata
  • ไฟลัมย่อย (Subphylum) : Vertebrata
  • ชั้น (Class) : Aves
  • อันดับ (Order) : Galliformes
  • วงศ์ (Family) : Phasianidae
  • สกุล (Genus) : Excalfactoria

ลักษณะทั่วไป

นกคุ่มสี มีลักษณะเป็นนกที่มีขนาดเล็กมาก (15 ซม.) ตัวผู้จะมีสีสันเด่นกว่านกลุ่ม อื่นๆ สามารถแยกได้ง่ายเมื่อดูในธรรมชาติ โดยบริเวณหน้าผาก เหนือตาและด้านข้างของคอ สีน้ำเงินแกมเทาซึ่งแตกต่างจากนกลุ่มอื่นๆ ด้านบนลำตัวสีน้ำตาลเข้ม มีลายจุดและลายพาดสีดำทั่วๆไป

คอหอยสีดำ ด้านล่างของคอหอยและได้ตามีแถบสีขาวอก และต้นขาสีน้ำเงินแกมเทา ด้านล่างลำตัวส่วนที่เหลือสีน้ำตาลแดง ตัวเมียด้านบนลำตัวลักษณะคล้ายกับตัวผู้ คอหอย เป็นสีเนื้อ ด้านล่างลำตัวส่วนที่เหลือเป็นสีเนื้อแกมม่วง อกและต้นขามีลายแถบสีออกดำ นิ้วสีเหลืองเข้ม

การสืบพันธุ์ของนกคุ่มสี

การสืบพันธุ์ของนกคุ่มสี ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน หรือระหว่างเดือน เมษายน-มิถุนายน ทำรังตามพื้นดินบริเวณที่เป็นซุ้มกอหญ้า หรือพืชต่างๆ ด้วยการขุดดินให้ เป็นแอ่งเล็กน้อย อาจนำใบไม้หรือใบหญ้ามาวางตรงแย่งเพื่อรองรับไข่ บางครั้งก็ไม่มีวัสดุใดๆรองที่พื้นรังแต่อย่างใด

ไข่มีลักษณะเป็นรูปไข่ ขนาดโดยเฉลี่ย 19.0 x 24.5 มม. ไข่สีเทาอ่อน หรือสีเหลืองแกมเขียว จนกระทั่งถึงสีน้ำตาล ในแต่ละรังมีไข่ 5-7 ฟอง ตัวเมียตัวเดียวที่ทำการฟักไข่ โดยตัวผู้อาจจะคอยดูแลระวังภัยต่างๆ ให้ หรือไม่สนใจอีกเลยและไปจับคู่กับตัวเมียตัวอื่นๆต่อไปอีก เริ่มฟักไข่เมื่อออกไข่ฟองสุดท้ายแล้ว ระยะเวลาฟักไข่ทั้งสิ้น 15-16 วัน

ลูกนกที่ออกจากไข่ใหม่ๆ ลืมตา มีขนอุยปกคลุมเต็มตัว สามารถที่จะเดินตามแม่ไปหาอาหารได้ทันที หลังจากที่ขนปกคลุมลำตัวแห้ง หรือเมื่อออกจากไข่ได้ประมาณ 3-4 ชั่วโมง ลูกจะติดตามแม่ไปหาอาหารจนกระทั่งแข็งแรง หรือเมื่ออายุได้ประมาณ 1.5-2 เดือน จากนั้นก็จะ แยกจากแม่ไปหากินเองตามลำพัง

อุปนิสัยของนกคุ่มสี

นกคุ่มสี เป็นนกที่มีกิจกรรมต่างๆและหากินในตอนกลางวัน พบตามป่าหญ้า ป่าละเมาะ และทุ่งโล่ง ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,300 เมตร จากระดับน้ำทะเล พบเป็นคู่ หรือฝูงเล็กๆ หากินตามพื้นดิน ซุกซ่อนตามกอหญ้าเมื่อศัตรูหรือ สิ่งรบกวน หรืออาจจะบินในระยะทางสั้นๆ ระดับความสูงเหนือยอดหญ้าเล็กน้อย จากนั้นก็ลงชุกตามกอหญ้าอีก

การแพร่กระจาย

เขตแพร่กระจายของนกคุ่มสี มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เกาะนิโคบาร์ จีนตอนได้ ไหหลำ ไต้หวัน หมู่เกาะซุนดาใหญ่ และฟิลิปปินส์ จนถึงออสเตรเลีย ในเอเชียตะวันออกเฉียงได้พบทั่วไป

สถานภาพของนกคุ่มสี

นกคุ่มสี เป็นนกประจำถิ่นของไทย พบในภาคเหนือ ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ พบไม่บ่อยและปริมาณไม่มากนัก สถานภาพตามกฎหมาย กฎหมายจับกลุ่มสีเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

ที่มา : กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า, สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม »

คลิกดิ้! อัปเดตเทรนด์ทุกไลฟ์สไตล์ พร้อมเสิร์ฟสาระดีๆ ที่ให้คุณเพลิดเพลินกับไอเดียใหม่ๆ ได้ทุกวัน แนะนำสินค้าไลฟ์สไตล์ สินค้ามาใหม่ล่าสุด มาแรง ข้อมูลสินค้ายอดนิยม ราคาและโปรโมชั่นล่าสุด ช้อปปิ้งออนไลน์ ได้ของดี ราคาถูก จัดส่งเร็ว เก็บโค้ดส่วนลด โค้ดส่งฟรี คูปองเงินคืน ส่วนลด โปรโมชันพิเศษล่าสุด เปรียบเทียบข้อมูลและราคาสินค้า อัปเดตล่าสุด

Popular Posts

วิธีเลี้ยงปลาออสก้า รวมกับปลาอะไรได้บ้าง อาหารปลาออสก้าชอบกินอะไร ยี่ห้อไหนดี.

ปลาสอด สายพันธุ์ต่างๆ มีกี่พันธุ์' อะไรบ้าง ปลาแพลทตี้ วิธีเลี้ยงยังไง? ออกลูกเป็นตัว.

ชุดคิท วงจรปรีโทนคอนโทรล ยี่ห้อไหนดี? วงจรปรีแอมป์ วงจรปรีโทนเสียงดี ราคาถูก.

ชุดออเจ้า แม่พุดตาน "พรหมลิขิต" ชุดไทย บุพเพสันนิวาส, ชุดแม่การะเกด ชุดพุดตาล.

เสื้อชั้นใน ใบเฟิร์น พิมพ์ชนก รุ่นใหม่ล่าสุด Sabina Braless เสื้อใน ชุดชั้นใน ราคาถูก.

สาวสนม 'ดงนาทาม' ดอกสีชมพูอมม่วง วนอุทยานน้ำตกผาหลวง จ.อุบลราชธานี

วิธีเลี้ยงเต่าซูคาต้า กินอะไร? อาหารเต่าบก อาหารเต่าซูคาต้า ยี่ห้อไหนดีมีกี่สูตร ราคา.

ปลาดินสอแดง ชนิดใหม่? Nannostomus Cenepa' และปลา 'Super Red Cenepa'.

วิธีเลี้ยงปลาหางนกยูง'ให้อาหารวันละกี่ครั้ง กินอะไรได้บ้าง? สูตรอาหารปลาหางนกยูง.

กลอนประตูดิจิตอล SECUON รุ่น SEC-394T Digital MORTISE LOCK ราคา