วิตามินบำรุงครรภ์ สำหรับคนท้อง กินดีไหม มีอะไรบ้าง, คุณแม่ตั้งครรภ์ ควรกินหรือไม่?

เนื้อหาข้อมูล "วิตามินสำหรับคนท้อง"

แม่ตั้งครรภ์ ควรกินวิตามินหรือไม่?

"วิตามิน" ช่วยให้การทำงานในร่างกายเป็นปกติ และมีความสำคัญต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรกินอาหารที่มีปริมาณวิตามินให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมหรือ นำไปใช้ได้อย่างเต็มที่ การขาดวิตามินต่างๆ จะส่งผลให้เกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับวิตามิน และส่งผลต่อทารกที่อยู่ในครรภ์โดยตรง วิตามินที่สำคัญสำหรับบำรุงครรภ์ คุณแม่มีครรภ์ มีอะไรบ้าง?

วิตามินเอ A

วิตามินเอ จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ช่วยในการพัฒนาการของเซลล์เยื่อบุผิว ช่วยในการสร้างกระดูกและฟัน สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ช่วยบำรุงสุขภาพของตาผิวหนัง และเพิ่มภูมิต้านทานซึ่งเป็นกลไกในการเกิดโรคมะเร็ง

อาหารที่พบว่ามีวิตามินเอสูงได้แก่ ไข่แดง ตับ และในพืชผักที่มีสารแคโรทีน ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ ได้แก่ ผักใบเขียวเข้ม เช่น ผักตำลึง ผักคะน้า ผักหวาน โหระพา เป็นต้น

ส่วนผลไม้ที่มีวิตามินเอ ได้แก่ มะละกอสุก เป็นต้น คณะกรรมการ จัดทำข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย ได้แนะนำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ ได้รับวิตามินเอ เพิ่มขึ้นจากช่วงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์อีกวันละ 200 ไมโครกรัม

วิตามินบำรุงครรภ์ สำหรับคนท้อง กินดีไหม มีอะไรบ้าง, คุณแม่ตั้งครรภ์ ควรกินหรือไม่?

ภาพโดย gpointstudio.

วิตามินดี D

วิตามินดี จําเป็นต่อการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส ในระยะตั้งครรภ์ เป็นระยะที่ต้องการแคลเซียมและฟอสฟอรัสมากขึ้น จึงต้องการวิตามินมากขึ้นด้วย วิตามินดีมีมากในอาหารพวก ไข่แดง ตับ นมและผลิตภัณฑ์นม ปลาทะเล เป็นต้น นอกจากนี้ร่างกายยังสามารถ สังเคราะห์วิตามินดีได้ เมื่อผิวหนังได้รับแสงแดดจากดวงอาทิตย์

ในภาวะตั้งครรภ์จะมี 25-hydroxycholecalciferol จากมารดาผ่านรกไปสู่ทารก ได้ในปริมาณน้อย ซึ่งไม่มีผลต่อภาวะวิตามินดีของมารดาแต่อย่างใด ดังนั้นในสตรีที่ตั้งครรภ์ที่ได้รับแสงแดดอย่างเพียงพอ และสม่ำเสมอ ความต้องการวิตามินดีเสริมจากอาหารในขณะที่ตั้งครรภ์ จึงไม่มีความแตกต่างจากในขณะที่ไม่ตั้งครรภ์

ดังนั้น ปริมาณอ้างอิงวิตามินดีที่ควรได้รับประจำวันสำหรับสตรีที่ตั้งครรภ์ทุกอายุ คือ 5 ไมโครกรัม (200 หน่วยสากล) ต่อวัน และการบริโภควิตามินดีเสริม ในปริมาณที่สูงกว่านี้ คือ 10 ไมโครกรัม (400 หน่วยสากล) ต่อวัน โดยได้รับในรูปยาเม็ดก็ยังอยู่ในปริมาณที่ปลอดภัยและยอมรับได้ (คณะกรรมการจัดทำข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวัน สําหรับคนไทย พ.ศ. 2546)

วิตามินอี E

วิตามินอี หรือแอลฟาโทโคเฟอรอล ทำหน้าที่เป็นแอนติออกซิแดนท์ ต่อต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันที่จะเกิดขึ้นกับสารต่าง ๆ ที่อยู่ในร่างกาย เช่น บนผนังเซลล์เพื่อไม่ให้ถูกทําลาย วิตามินอียังป้องกันกรดไขมันอิ่มตัวและวิตามินเอไม่ให้แตกตัวและรวมกับสารอื่น ๆ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย

นอกจากนี้ วิตามินอี ยังมีความสำคัญต่อการผลิตพลังงานในร่างกาย โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ ช่วยให้กล้ามเนื้อและประสาทที่เกี่ยวข้องทํางานได้ในภาวะที่มีออกซิเจนน้อย เพิ่มความทนทาน และช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้สะดวกขึ้น

คุณแม่ตั้งครรภ์ ควรบริโภคอาหารที่มีวิตามินอี เพราะเป็นสารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่สำคัญเพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรง

อาหารที่มีวิตามินอี ได้แก่ น้ำมันพืชต่างๆ เช่น น้ำมันที่สกัดจากรำข้าว เมล็ดพืชต่าง ๆ เช่น เมล็ดดอกทานตะวัน อัลมอนต์ ถั่วเหลือง และจมูกข้าวสาลี ซึ่งนับเป็นแหล่งที่ดีของวิตามินอี

วิตามินบีหนึ่ง B1

วิตามินบีหนึ่ง จำเป็นต่อการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตเพื่อผลิตพลังงาน โดยวิตามินบีหนึ่ง ทําหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสลายคาร์โบไฮเดรต หรือน้ำตาลให้พลังงาน คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องการพลังงานเพิ่มมากขึ้น จึงต้องการวิตามินบีหนึ่งมากตามไปด้วย

กลุ่มอาหารที่มีวิตามินบีหนึ่ง ได้แก่ เนื้อหมู จมูกข้าว ข้าวซ้อมมือ หรือเมล็ดธัญพืชที่ไม่ได้ขัดสี ถั่วเมล็ดแห้ง

วิตามินบีสอง B2

วิตามินบีสอง ทําหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสลายคาร์โบไฮเดรต เหมือนกับวิตามินบีหนึ่ง และจำเป็นสำหรับการสร้างโปรตีนในร่างกาย บำรุงสุขภาพของผิวหนัง ลิ้น ริมฝีปากและดวงตา ถ้าขาดจะมีอาการเป็นแผลที่มุมปากทั้งสองข้าง เรียกว่า “ปากนกกระจอก” รวมทั้งความผิดปกติของผิวหนัง

อาหารที่พบว่ามีวิตามินบีสอง มาก เช่น ตับ และ ผักใบเขียว เป็นต้น คณะกรรมการจัดทำข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย ได้แนะนำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ ได้รับวิตามินบีสองเพิ่มขึ้นจากช่วงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์อีกวันละ 0.3 มิลลิกรัม

วิตามินบีหก B6

วิตามินบีหก มีบทบาทต่อกระบวนการสร้างกรดอะมิโนในร่างกาย ทําหน้าที เป็นโคเอนไซม์ช่วยในการเปลี่ยนกรดอะมิโนทริปโตเฟนให้เป็นไนอะซิน ซึ่งเป็นวิตามินบีที่จำเป็นต่อร่างกาย รวมทั้งยังช่วยในการสังเคราะห์ฮีโมโกลบินและฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตอีกด้วย

อาหารที่มีวิตามินบีหกมาก เช่น นมและผลิตภัณฑ์นม เนย เครื่องในสัตว์ เป็นต้น คณะกรรมการจัดหาข้อกําหนด สารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย ได้แนะนำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ ได้รับวิตามินบีหกเพิ่มขึ้นจาก ช่วงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์อีกวันละ 0.6 มิลลิกรัม

กรดโฟลิค หรือโฟเลท

กรดโฟลิค หรือโฟเลท เป็นวิตามินบีชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญมากต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ เพราะมีบทบาทสําคัญต่อการพัฒนาสมองและระบบประสาทของตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์ และยังมีส่วนสำคัญในการสร้างและพัฒนาเม็ดเลือดแดง

นอกจากนี้ยังมีความสำคัญในการสังเคราะห์สารพันธุกรรม คือ ดีเอนเอ (DNA) จำเป็นสำหรับการแบ่งเซลล์และการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อต่าง ๆ ดังนั้นคุณแม่ตั้งครรภ์ จึงมีความต้องการกรดโฟลิคเพิ่มขึ้น เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายมีการสร้างเม็ดเลือดและ เนื้อเยื่อใหม่ๆ โดยเฉพาะมีการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์อย่างรวดเร็วทั้งร่างกายและสมอง

อาหารที่มีโฟลิคมาก ได้แก่ ผักใบเขียว ผลไม้สด ถั่วเมล็ดแห้ง เมล็ดดอกทานตะวัน และจมูกข้าว เป็นต้น คณะกรรมการจัดหาข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย ได้แนะนำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับโฟเลทเพิ่มขึ้นจากช่วงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์อีกวันละ 200 ไมโครกรัม

วิตามินบีสิบสอง B12

วิตามินบีสิบสอง มีความสำคัญต่อการสร้างและพัฒนาเม็ดเลือดแดงเช่นเดียวกับ เหล็กและกรดโฟลิค คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรได้รับวิตามินบีสิบสองเพิ่มขึ้น อาหารที่มีวิตามินบีสิบสองมาก ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่างๆ ไข่ นม และโยเกิร์ต ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ซึ่งได้จากการหมักของแบคทีเรียกลุ่มที่สร้างกรดแล็กติก ใระหว่างขบวนการหมักจะมีการสร้างวิตามินบีสิบสองขึ้นพร้อมกันด้วย

คณะกรรมการจัดทำข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย ได้แนะนำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับ วิตามินบีสิบสอง เพิ่มขึ้นจากช่วงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์อีกวันละ 0.2 ไมโครกรัม

วิตามินซี

วิตามินซี ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก บำรุงผนังเส้นเลือด เพราะวิตามินซีจำเป็นต่อการสร้างคลอลาเจน ซึ่งเป็นองค์ประกอบของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ช่วยให้เซลล์ยึดติดกัน และยังช่วยในการสร้างกระดูกและฟันสำหรับทารกในครรภ์

การขาดวิตามินซี เป็นสาเหตุที่ทำให้ร่างกายไม่สามารถเก็บแคลเซียมและฟอสฟอรัสไว้ใช้ได้ ในคุณแม่ตั้งครรภ์มีระดับวิตามินซีในพลาสมาลดลง เป็นผลเนื่องมาจากความต้องการวิตามินซีของทารก ทำให้มีการดึงวิตามินซีจากมารดาไปสู่ทารก

โดยภาวการณ์ขาดวิตามินซีในคุณแม่ตั้งครรภ์ มักพบในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีฐานะไม่ดี ภาวการณ์ขาดวิตามินซีในหญิง ตั้งครรภ์ทำให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อขณะคลอด การคลอดก่อนกำหนด และภาวะครรภ์เป็นพิษได้

มีข้อมูลรายงานว่าวิตามินซีปริมาณ 7 มิลลิกรัมจะสามารถป้องกันการเกิดโรคลักปิดลักเปิดได้ ดังนั้นคุณแม่ตั้งครรภ์ควรจะได้รับวิตามินซีเพิ่มจากช่วงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ 10 มิลลิกรัมต่อวัน (คณะกรรมการ จัดทําข้อกําหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2546)

อาหารที่มีวิตามินซีมาก ได้แก่ ฝรั่ง ส้ม มะขามป้อม มะเขือเทศ ผลไม้ต่าง ๆ และผักสด เป็นต้น อาหารที่มีวิตามินซีน้อย ได้แก่ ข้าว เนื้อสัตว์ น้ำนม การหุงต้มและการได้รับแสง ทำให้เกิดการสูญเสียวิตามิน ดังนั้นเวลาปรุงอาหารจึงต้องระมัดระวัง ไม่ต้มผักโดยใช้ความร้อนนานเกินไป เพราะจะทำให้วิตามินซีในผักถูกทำลาย การเก็บอาหารไว้เป็นเวลานานก็มีผลทำให้มีการสูญเสียวิตามินซี ได้เช่นกัน

ที่มา : สำนักงานจัดการศึกษาทั่วไปและศิลปวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม »

คลิกดิ้! อัปเดตเทรนด์ทุกไลฟ์สไตล์ พร้อมเสิร์ฟสาระดีๆ ที่ให้คุณเพลิดเพลินกับไอเดียใหม่ๆ ได้ทุกวัน แนะนำสินค้าไลฟ์สไตล์ สินค้ามาใหม่ล่าสุด มาแรง ข้อมูลสินค้ายอดนิยม ราคาและโปรโมชั่นล่าสุด ช้อปปิ้งออนไลน์ ได้ของดี ราคาถูก จัดส่งเร็ว เก็บโค้ดส่วนลด โค้ดส่งฟรี คูปองเงินคืน ส่วนลด โปรโมชันพิเศษล่าสุด เปรียบเทียบข้อมูลและราคาสินค้า อัปเดตล่าสุด

Popular Posts

ชุดคิท วงจรปรีโทนคอนโทรล ยี่ห้อไหนดี? วงจรปรีแอมป์ วงจรปรีโทนเสียงดี ราคาถูก.

วิธีเลี้ยงปลาออสก้า รวมกับปลาอะไรได้บ้าง อาหารปลาออสก้าชอบกินอะไร ยี่ห้อไหนดี.

เสื้อชั้นใน ใบเฟิร์น พิมพ์ชนก รุ่นใหม่ล่าสุด Sabina Braless เสื้อใน ชุดชั้นใน ราคาถูก.

เต่าเหลือง, เต่าเพ็ก,เต่าเทียน ชอบกินอะไร ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ลักษณะ ดูยังไง.

แมวดาว' ชื่อวิทยาศาสตร์, ชื่อภาษาอังกฤษ ลักษณะ กินอะไร ถิ่นที่อยู่อาศัย สถานภาพ.

ปลากราย, ปลาตองลาย, ปลาสะตือ, สลาด ลักษณะเด่น ความแตกต่างกัน อย่างไรบ้าง.

นกเอี้ยงหงอน ชื่อวิทยาศาสตร์, ชื่อสามัญ? (นกเอี้ยงเลี้ยงควาย, นกเอี้ยงดำ) กินอะไร.

ลําโพงร้องคาราโอเกะ, ชุดคาราโอเกะบ้าน เครื่องเสียงคาราโอเกะ เสียงดี ยี่ห้อไหนดี.

ปลาซิวเจ็ดสี (ซิวใบไผ่มุก) ชื่อวิทยาศาสตร์ ลักษณะเด่น วิธีเลี้ยง กินอะไรเป็นอาหาร.

กลอนประตูดิจิตอล SECUON รุ่น SEC-394T Digital MORTISE LOCK ราคา