นาวน้ำ (หัวชุม, เต๊าะกระไบย) ไม้ดอกหอม ลักษณะ ออกดอกช่วงเดือนไหน ประโยชน์.
เนื้อหาข้อมูลพันธุ์ไม้ 'นาวน้ำ'
- นาวน้ำ คืออะไร
- ชื่อไทย, ชื่อพื้นเมือง (ชื่อท้องถิ่น)
- ประโยชน์และสรรพคุณ
- ชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ)
- ชื่อวิทยาศาสตร์
- อนุกรมวิธานพืช (Plant Taxonomy)
- ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- ออกดอกเดือนไหน
- นิเวศวิทยา ถิ่นอาศัย
- การกระจายพันธุ์
นาวน้ำ คืออะไร
นาวน้ำ คือพันธุ์ไม้ไทยชนิดหนึ่ง ที่มีถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติและกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศไทย โดยถูกจัดอยู่ในกลุ่มพืชดอก (Flowering plants) หรือ Angiosperms ซึ่งเป็นกลุ่มของพืชที่มีดอก มีรังไข่ และมีส่วนที่เรียกว่าออวุล (Ovule) เมื่อเกิดการปฏิสนธิ ออวุลจะเจริญไปเป็นเมล็ด และรังไข่ก็จะเจริญไปเป็นผล (Fruit) เพื่อห่อหุ้มเมล็ดนั้นไว้สำหรับการขยายพันธุ์พืชด้วยเมล็ดพันธุ์ต่อไป
ชื่อไทย, ชื่อพื้นเมือง (ชื่อท้องถิ่น)
พันธุ์ไม้ไทยชนิดนี้ นอกจากมีชื่อไทยว่า 'นาวน้ำ' แล้วยังมีชื่ออื่นที่เป็นชื่อพื้นเมือง (vernacular name) หรือ ชื่อท้องถิ่น (local name) ซึ่งเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นอีก เช่น หัวชุม, เต๊าะกระไบย เป็นต้น.
ประโยชน์และสรรพคุณ
การใช้ประโยชน์ของนาวน้ำ ยอดอ่อนรสฝาดมัน กินเป็นผักสดแกล้มน้ำพริก ลาบ หรือก้อย, ผลสุกรสหวานกินได้, ปลูกประดับ หรือ ปลูกทำรั้ว ดอกส่งกลิ่นหอมเย็นช่วงหัวค่ำคล้ายดอกการเวก เก็บมาบูชาพระ
ชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ)
ชื่อสามัญ (Common name) ของ นาวน้ำ ภาษาอังกฤษ ว่า Water Ylang-Ylang Vine.
ชื่อวิทยาศาสตร์
นาวน้ำ ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Artabotrys spinosus Craib เป็นพันธุ์ไม้ไทยในสกุล Artabotrys โดยถูกจัดอยู่ในวงศ์ Annonaceae ซึ่งเป็นวงศ์พืชในอันดับ Magnoliales.
อนุกรมวิธานพืช (Plant Taxonomy)
- อาณาจักร (Kingdom) : Plantae
- ไฟลัม (Phylum) : Streptophyta
- ชั้น (Class) : Equisetopsida
- ชั้นย่อย (Subclass) : Magnoliidae
- อันดับ (Order) : Magnoliales
- วงศ์ (Family) : Annonaceae
- สกุล (Genus) : Artabotrys
- ชนิด (Species) : Artabotrys spinosus
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นาวน้ำ มีลักษณะวิสัยเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย ยาวถึง 10 ม. กิ่งแก่และโคนลำต้นมีหนามยาว 2-3 ซม. ตามกิ่ง อ่อน ก้านใบและดอกมีขนสั้น ใกล้ปลายกิ่งมีตะขอ
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กลับแกมขอบขนาน ยาว 5-12 ซม. ปลายใบกลม มน หรือหยักเป็นติ่งสั้น ๆ โคนใบมนหรือสอบ ผิวใบเรียบเกลี้ยง มีเส้นแขนงใบข้างละ 7-10 เส้น ก้านใบยาว 0.5-1 ซม.
ดอกเดี่ยวออกตามตะขอ ก้านดอกยาว 2-3 ซม. กลีบเลี้ยงสีเขียว มี 3 กลีบ รูปไข่ ปลายแหลม และกระดกกลับ กลีบดอก 6 กลีบ สีเขียว เมื่อใกล้ร่วงเปลี่ยนเป็นสีเหลือง รูปขอบขนาน ยาว 1.5-2 ซม. ดอกบานกว้าง 2.5-3 ซม. โคนกลีบคล้ายซ้อนโอบรอบเกสร มีกลิ่นหอมเย็นช่วงหัวค่ำ
ผลรูปรี ยาว 2.5-3 ซม. ปลายแหลม โคนสอบ ไม่มีก้าน ติดเป็นกลุ่ม ๆ ละ 5-10 ผล ผลอ่อนสีเขียว ผิวเกลี้ยงมันเงา มีจุดสีขาวจำนวนมาก เมื่อสุกเป็นสีเหลือง
ออกดอกเดือนไหน
ดอกนาวน้ำ ออกดอกเดือนมกราคม - สิงหาคม ผลแก่เดือนมิถุนายน - ธันวาคม
นิเวศวิทยา ถิ่นอาศัย
ถิ่นอาศัยของต้นนาวน้ำ พบขึ้นตามชายป่าของป่าบุ่งป่าทาม ตามเกาะแก่งหรือตลิ่งริมแม่น้ำ ลำคลอง ทนทานต่อกระแสน้ำ ที่ไหลเชี่ยวและน้ำท่วมได้นาน ที่ความสูงใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ 200 ม.
การกระจายพันธุ์
การกระจายพันธุ์ของต้นนาวน้ำ เป็นพืชถิ่นเดียวระดับภูมิภาค (Regional endemic) พบเฉพาะในภูมิภาคอินโดจีนแถบตอนกลาง และใต้ ประเทศไทยพบทั่วไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศลาวตอนกลางและตอนใต้ กัมพูชาและเวียดนาม ตอนใต้