ระงับ (ระงับพิษ, หญ้ากำแพง) ลักษณะดอก ชื่อวิทยาศาสตร์ Barleria siamensis.
ชื่อวิทยาศาสตร์
ระงับ ชื่อวิทยาศาสตร์ Barleria siamensis Craib
วงศ์ Acanthaceae
ชื่ออื่น: ระงับพิษ, หญ้ากำแพง
นิเวศวิทยา ระงับ
ถิ่นอาศัยของต้นระงับ พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ ตามป่าไม่ผลัดใบและเขาหินปูน ที่สูง จากระดับทะเลปานกลาง 300 - 1,150ม.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้นระงับ มีลักษณะวิสัยเป็นไม้ล้มลุก สูง 0.5-1.5 ม. กิ่งมีขนประปราย ใบเดี่ยว เรียง ตรงข้ามหรือเป็นวงรอบ รูปรี กว้าง 4-8 ซม. ยาว 9-10 ชม. ปลายเรียวแหลม โคนสอบเรียว ขอบเรียบ แผ่นใบบางคล้าย กระดาษ เกลี้ยงยกเว้นบริเวณเส้นกลางใบเมื่อแก่ เส้นแขนงใบ ข้างละ 4-6 เส้น ก้านใบยาวประมาณ 7 มม. มีขน
ช่อดอก แบบช่อเชิงลด ออกที่ปลายกิ่ง มีจำนวนดอกน้อย ใบประดับ 2 ใบ ขนาดใหญ่ รูปไข่ ปลายแหลม กว้างประมาณ 1.5 ซม. ยาวประมาณ 2.5 ซม. ไม่มีก้านดอก กลีบเกลี้ยง 4 กลีบ กลีบใน 2 กลีบ ขนาดเล็กกว่า ตามขอบกลีบมีขนสั้น กลีบดอก สีฟ้า โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 4 ซม.
ด้านนอกมีขนประปราย ปลายหลอด แยกเป็น 5 แฉก ยาวประมาณ 2 ซม. แยกเป็นซีกบน 4 แฉก โดยมี 2 แฉก กลางขนาดเล็กกว่า 2 แฉกข้าง ซีกล่าง 1 แฉกขนาดใหญ่ที่สุด เกลี้ยง เกสรเพศผู้ 2 เกสร ก้านยอดเกสรเพศเมียเรียวยาว ยอดเกสรเพศเมีย แยกเป็น 2 แฉก ผลแบบผลแห้งแตก เมล็ด มี 2-4 เมล็ด
การกระจายพันธุ์
การแพร่กระจายของระงับ ในต่างประเทศ พบที่คาบสมุทรมาเลเซีย
ที่มาข้อมูลและภาพ : หนังสือพรรณไม้ในพื้นที่โครงการอุทยานธรรมชาติวิทยาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี