ปลาเล็บมือนาง, เล็บมือนางหางจุด, สร้อยดอกยาง กินอะไร อาหาร วิธีเลี้ยงในตู้ปลา.
เนื้อหาข้อมูล ปลาเล็บมือนาง
- ปลาเล็บมือนาง คืออะไร?
- ชื่อไทย, ชื่อพื้นเมือง (ชื่อท้องถิ่น)
- วิธีเลี้ยงในตู้ปลา
- กินอะไรเป็นอาหาร
- ชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ)
- ชื่อวิทยาศาสตร์
- อนุกรมวิธาน (Taxonomy)
- ลักษณะทั่วไป
- ถิ่นอาศัย
ปลาเล็บมือนาง คืออะไร?
ปลาเล็บมือนาง คือสัตว์จำพวกปลาในกลุ่มปลาน้ำจืดไทยชนิดหนึ่งที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำตามธรรมชาติของไทย ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดไทยที่มีลักษณะสวยงาม จึงนิยมนำมาเลี้ยงในตู้ปลา เป็นปลาสวยงามน้ำจืดของไทย
ปลาเล็บมือนาง เป็นสัตว์มีแกนสันหลังซึ่งอยู่ในกลุ่มสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง โดยอยู่ในจำพวกปลากระดูกแข็ง (Bony fish) ในชั้นปลาที่มีก้านครีบ (ray-finned fish) ซึ่งจัดเป็นสัตว์เลือดเย็น (Cold-blooded) ที่อุณหภูมิในร่างกายสามารถปรับเปลี่ยนไปตามอุณหภูมิของแหล่งน้ำที่อยู่อาศัย หายใจด้วยเหงือก ช่องเหงือกมองไม่เห็นมีแผ่นแก้มปิดเหงือก มีลักษณะโครงกระดูกเป็นกระดูกแข็ง มีรูปร่างเรียวยาว ลำตัวค่อนข้างแบน มีครีบและหาง ซึ่งใช้ในการทรงตัวและการเคลื่อนไหวในน้ำ
ชื่อไทย, ชื่อพื้นเมือง (ชื่อท้องถิ่น)
ปลาสวยงามน้ำจืดไทยชนิดนี้ นอกจากมีชื่อไทยว่า 'ปลาเล็บมือนาง' แล้วยังมีชื่ออื่นที่เป็นชื่อพื้นเมือง (vernacular name) หรือ ชื่อท้องถิ่น (local name) ซึ่งเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นอีก เช่น เล็บมือนางหางจุด, สร้อยดอกยาง, ซึม เป็นต้น.
วิธีเลี้ยงในตู้ปลา
วิธีเลี้ยงปลาเล็บมือนางในตู้ปลา สามารถเลี้ยงร่วมกับปลาชนิดอื่นในตู้ปลาที่มีพรรณไม้น้ำ อุปนิสัยชอบและเล็มกิน ตะไคร่น้ำและเศษใบไม้ในตู้ปลา คล้ายกับปลาน้ำผึ้ง
กินอะไรเป็นอาหาร
photo by Noren, M..
อาหารของปลาเล็บมือนาง ในธรรมชาติจะกินแพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์ ตะไคร่น้ำ เป็นอาหาร แต่ในที่เลี้ยงในตู้ปลา สามารถฝึกให้กินอาหารเม็ดได้
ชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ)
ชื่อสามัญ (Common name) ของ ปลาเล็บมือนาง ภาษาอังกฤษ ว่า Silver flying fox, Siamese flying fox, Siamese algae eater, Gray flying fox.
ชื่อวิทยาศาสตร์
ปลาเล็บมือนาง ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Crossocheilus oblongus Kuhl & Van Hasselt, 1823 เป็นปลาน้ำจืดไทยในสกุล Crossocheilus โดยถูกจัดอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ซึ่งเป็นวงศ์ปลาน้ำจืดในอันดับปลาตะเพียน (Cypriniformes)
ชื่อพ้อง (Synonyms)
- Crossocheilus siamensis (Smith, 1931)
- Crossochilus oblongus Kuhl & Van Hasselt, 1823
- Epalzeorhynchos siamensis Smith, 1931
- Epalzeorhynchos stigmaeus Smith, 1945
- Epalzeorhynchus siamensis Smith, 1931
- Epalzeorhynchus stigmaeus Smith, 1945
- Labeo oblongus Valenciennes, 1842
อนุกรมวิธาน (Taxonomy)
- อาณาจักร (Kingdom) : Animalia
- ไฟลัม (Phylum) : Chordata
- ไฟลัมย่อย (Subphylum) : Vertebrata
- ชั้น (Class) : Actinopterygii
- อันดับ (Order) : Cypriniformes
- วงศ์ (Family) : Cyprinidae
- สกุล (Genus) : Crossocheilus
- ชนิด (Species) : Crossocheilus oblongus
ลักษณะทั่วไป
ปลาเล็บมือนาง มีรูปร่างลำตัวเพรียวยาว หัวเล็ก ปากเล็กอยู่ด้านล่างของจะงอยปาก และมีแผ่นหนังคลุม มีหนวดสั้น 1 คู่ เกล็ดเล็ก ลำตัวสีเงินอมเหลือง ขอบเกล็ดทุกเกล็ดจะมีแนวสีดำคล้ายลายตาข่าย โคนครีบหางมีจุดสีดำ เห็นชัดเจน ครีบใสสีเหลืองเรื่อ ๆ ขนาดเฉลี่ยมีความยาว 8-10 ซม. ขนาดใหญ่สุดพบความยาวประมาณ 17 ซม.
ถิ่นอาศัย
ถิ่นอาศัยของปลาเล็บมือนาง ลำธาร และแม่น้ำในบริเวณน้ำตื้น และไหลไม่แรงมากนัก
ที่มา : อรุณี รอดลอย. (2564). 95 ชนิด ปลาสวยงามน้ำจืดไทย 95 ปี กรมประมง. กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.