ฮ่อมระนอง ชื่อวิทยาศาสตร์ Strobilanthes ranongensis ออกดอกเดือนไหน ลักษณะ.
ชื่อวิทยาศาสตร์
ฮ่อมระนอง ชื่อวิทยาศาสตร์ Strobilanthes ranongensis Terao
วงศ์ Acanthaceae
ชื่ออื่น: -
นิเวศวิทยา ฮ่อมระนอง
ถิ่นอาศัยของต้นฮ่อมระนอง เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบทางภาค ตะวันตกเฉียงใต้และภาคใต้ ตามที่เปิดโล่งป่าดิบขึ้น ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขา ที่สูงจากระดับทะเลปาน กลาง 600-1,100 ม.
ออกดอกเดือนไหน
ดอกฮ่อมระนอง ออกดอกและเป็นผลเดือน พฤศจิกายน-มกราคม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้นฮ่อมระนอง มีลักษณะวิสัยเป็นไม้พุ่ม สูงได้ถึง 2 ม. ลำต้นตั้งตรง เป็นข้อบวม กิ่งค่อน ข้างกลม มีขนสั้นนุ่ม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน กว้าง 1.5-5.5 ซม. ยาว 6-16 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนรูปลืมหรือมน ขอบ ค่อนข้างเรียบ มีขนครุย แผ่นใบบางคล้ายแผ่นกระดาษ ด้านบนมีซิสโทลิท ด้านล่างมีขนสั้นนุ่ม เส้นแขนงใบ ข้างละ 6-9 เส้น ก้านใบยาวได้ถึง 3 ซม.
ช่อดอกแบบ ช่อเชิงลด ออกตามซอกใบหรือที่ปลายกิ่ง ใบประดับ 2 ใบ เรียงตรงข้าม ใบประดับย่อยเรียงซ้อนเหลื่อมกัน รูปรี ปลายเป็นติ่งแหลม โคนสอบแคบ กลีบเลี้ยงโคน เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยตื้น ๆ ส่วนปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปไข่ ด้านนอกมีขนประปราย กลีบดอกโคนเชื่อม ติดกันเป็นหลอดรูปปากแตร ปลายแยกเป็น 5 กลีบ มีขนสั้นนุ่ม
เกสรเพศผู้ที่สืบพันธุ์ได้ 2 เกสร ก้านชู อับเรณูยาว 2-4 มม. มีขนประปราย รังไข่อยู่เหนือวง กลีบ รูปทรงไข่ มีขน มี 2 ช่อง แต่ละช่องมืออวุล 2 เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมียยาวประมาณ 1 ซม. ผลแบบผล แห้งแตก รูปทรงรีแกมทรงรูปไข่ เมล็ดรูปทรงเกือบกลม ผิวเมล็ดมีขน
ที่มาข้อมูลและภาพ : หนังสือพรรณไม้ในพื้นที่โครงการอุทยานธรรมชาติวิทยาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี