พีพวนน้อย (ผีพ่วน, ตีนตั่ง) ชื่อวิทยาศาสตร์ ประโยชน์ สรรพคุณ ออกดอกผลเดือนไหน.
เนื้อหาข้อมูลพันธุ์ไม้ 'พีพวนน้อย'
- พีพวนน้อย คืออะไร
- ชื่อไทย, ชื่อพื้นเมือง (ชื่อท้องถิ่น)
- ประโยชน์และสรรพคุณ
- ชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ)
- ชื่อวิทยาศาสตร์
- อนุกรมวิธานพืช (Plant Taxonomy)
- ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- ออกดอกเดือนไหน
- นิเวศวิทยา ถิ่นอาศัย
- การกระจายพันธุ์
พีพวนน้อย คืออะไร
พีพวนน้อย คือพันธุ์ไม้ไทยชนิดหนึ่ง ที่มีถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติและกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศไทย โดยถูกจัดอยู่ในกลุ่มพืชดอก (Flowering plants) หรือ Angiosperms ซึ่งเป็นกลุ่มของพืชที่มีดอก มีรังไข่ และมีส่วนที่เรียกว่าออวุล (Ovule) เมื่อเกิดการปฏิสนธิ ออวุลจะเจริญไปเป็นเมล็ด และรังไข่ก็จะเจริญไปเป็นผล (Fruit) เพื่อห่อหุ้มเมล็ดนั้นไว้สำหรับการขยายพันธุ์พืชด้วยเมล็ดพันธุ์ต่อไป
ชื่อไทย, ชื่อพื้นเมือง (ชื่อท้องถิ่น)
พันธุ์ไม้ไทยชนิดนี้ นอกจากมีชื่อไทยว่า 'พีพวนน้อย' แล้วยังมีชื่ออื่นที่เป็นชื่อพื้นเมือง (vernacular name) หรือ ชื่อท้องถิ่น (local name) ซึ่งเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นอีก เช่น ผีพ่วน, ผีผ่วน, ตีนตั่ง เป็นต้น.
ประโยชน์และสรรพคุณ
การใช้ประโยชน์ของพีพวนน้อย ผลสุกสีส้มถึงสีแดงเข้ม เนื้อในสีขาวมีรสหวานอมเปรี้ยว กลิ่นหอมคล้ายผลลิ้นจี่สุก กินได้ หรือปอก เปลือกออกแล้วนำมาคลุกกับน้ำปลาหวาน ผลอ่อน-ห่าม รสเปรี้ยวอมฝาดใช้ตำส้ม, แก่น ต้มน้ำดื่มบำรุงน้ำนมแม่ลูก อ่อน, เถา มีเนื้อเหนียวใช้ทำขอบสวิง กระดัง เปล กระโซ่วิดน้ำ กงลอบ กงไซ
ชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ)
ชื่อสามัญ (Common name) ของ พีพวนน้อย ภาษาอังกฤษ ว่า Torres Strait Scrambler, Carabao teats.
ชื่อวิทยาศาสตร์
พีพวนน้อย ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Uvaria rufa (Dunal) Blume เป็นพันธุ์ไม้ไทยในสกุล Uvaria โดยถูกจัดอยู่ในวงศ์ Annonaceae ซึ่งเป็นวงศ์พืชในอันดับ Magnoliales.
ชื่อพ้อง (Synonyms)
- Guatteria rufa Dunal (1817)
- Unona setigera Blanco (1845)
- Uva rufa Kuntze (1891)
- Uvaria astrosticta Miq. (1865)
- Uvaria bancana Scheff. (1871)
- Uvaria branderhorstii Burck (1911)
- Uvaria fauveliana (Finet & Gagnep.) Pierre ex Ast (1938)
- Uvaria hamiltonii var. fauveliana Finet & Gagnep. (1906)
- Uvaria ridleyi King (1892)
- Uvaria setigera (Blanco) Blanco (1845)
- Uvaria solanifolia C.Presl (1835)
อนุกรมวิธานพืช (Plant Taxonomy)
- อาณาจักร (Kingdom) : Plantae
- ไฟลัม (Phylum) : Streptophyta
- ชั้น (Class) : Equisetopsida
- ชั้นย่อย (Subclass) : Magnoliidae
- อันดับ (Order) : Magnoliales
- วงศ์ (Family) : Annonaceae
- สกุล (Genus) : Uvaria
- ชนิด (Species) : Uvaria rufa
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พีพวนน้อย มีลักษณะวิสัยเป็นไม้เลื้อย เนื้อแข็งเหนียว ยาวถึง 15 ม. เถาแก่มีร่องตื้นตามยาวแกมร่างแห ตามกิ่ง อ่อน แผ่นใบ ก้านใบ ช่อดอกและผลมีขนกระจุกสั้นรูปดาวสีสนิม-สีขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปหอกกลับแกมขอบ ขนาน ยาว 6-15 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเว้ารูปหัวใจ เส้นแขนงใบข้างละ 8-12 เส้น ก้านใบบวม ยาว 5 มม.
ดอกเดี่ยวหรือแบบช่อกระจุก 1-4 ดอก/ช่อ ออกตรงข้ามใบ ก้านดอกยาว 0.6-1 ซม. กลีบเลี้ยง 3 กลีบ สีเขียวอ่อน กลีบดอก 6 กลีบ มีขนาดใกล้เคียงกัน สีแดงเข้มหรือสีแดงอมม่วง รูปขอบขนาน ยาว 0.8-1.2 ซม. ปลายมน มีขน สั้น ปลายกลีบบานกลับเล็กน้อย-มาก ดอกบานกว้าง 1.5 ซม.
ผลทรงรีหรือขอบขนาน กว้าง 2 ซม. ยาว 2-3 ซม. ผิวไม่มีรอยหยักคอด ก้านผลยาว 1-3 ซม. ติดเป็นกลุ่ม ๆ ละ 5-20 ผล ก้านช่อผลยาว 1 ซม. ผลสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง- สีส้ม-สีแดง ตามลำดับ มีเมล็ดสีดำจำนวนมากเรียง 2 แถว
ออกดอกเดือนไหน
ดอกพีพวนน้อย ออกดอกเดือนมีนาคม - กันยายน ผลแก่เดือนพฤษภาคม - พฤศจิกายน
นิเวศวิทยา ถิ่นอาศัย
ถิ่นอาศัยของต้นพีพวนน้อย พบขึ้นตามที่โล่งแจ้ง หรือชายป่า ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าบุ่งป่าทาม ที่ความสูงใกล้ระดับน้ำ ทะเลจนถึงประมาณ 1,500 ม.
การกระจายพันธุ์
การกระจายพันธุ์ของต้นพีพวนน้อย เป็นพบได้ง่ายทั่วทุกภาคของประเทศไทยและลาว ประเทศอินเดีย จีนตอนใต้ และทั่วเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้