กล้วยไม้ป่า สิงโตกำมะหยี่ ชื่อวิทยาศาสตร์ ความหมาย ลักษณะ ออกดอกเดือนไหน.
เนื้อหาข้อมูลพันธุ์ไม้ 'สิงโตกำมะหยี่'
- สิงโตกำมะหยี่ คืออะไร
- ชื่อไทย, ชื่อพื้นเมือง (ชื่อท้องถิ่น)
- การค้นพบ ความหมายของชื่อ
- ชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ)
- ชื่อวิทยาศาสตร์
- อนุกรมวิธานพืช (Plant Taxonomy)
- ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- ออกดอกเดือนไหน
- นิเวศวิทยา ถิ่นอาศัย
- การกระจายพันธุ์
สิงโตกำมะหยี่ คืออะไร
สิงโตกำมะหยี่ คือพันธุ์ไม้ไทยชนิดหนึ่งซึ่งเป็นพืชพื้นเมืองที่มีถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติและกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศไทย ถูกจัดอยู่ในกลุ่มพืชดอก (Flowering plants) หรือ Angiosperms ซึ่งเป็นกลุ่มของพืชที่มีดอก มีรังไข่ และมีส่วนที่เรียกว่าออวุล (Ovule) เมื่อเกิดการปฏิสนธิ ออวุลจะเจริญไปเป็นเมล็ด และรังไข่ก็จะเจริญไปเป็นผล (Fruit) เพื่อห่อหุ้มเมล็ดนั้นไว้สำหรับการขยายพันธุ์พืชด้วยเมล็ดพันธุ์ต่อไป
ชื่อไทย, ชื่อพื้นเมือง (ชื่อท้องถิ่น)
พันธุ์ไม้ไทยชนิดนี้ นอกจากมีชื่อไทยว่า 'สิงโตกำมะหยี่' แล้วยังมีชื่ออื่นที่เป็นชื่อพื้นเมือง (vernacular name) หรือ ชื่อท้องถิ่น (local name) ซึ่งเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นอีก เช่น สิงโตธานีนิวัติ เป็นต้น.
การค้นพบและความหมายของชื่อ
สิงโตกำมะหยี่ ถูกค้นพบครั้งแรกจากการสำรวจของ Dr. Gunnar Seidenfaden และศาสตราจารย์ ดร.เต็ม สมิตินันทน์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1965 Dr. Gunnar Seidenfaden ได้ตั้งชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Bulbophyllum dhaninivatii Seidenf. เป็นพืชชนิดใหม่ของโลก ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร Felicitation Volumes of Southeast Asia Studies 1 หน้า 154 ปี ค.ศ. 1965 ตัวอย่างเก็บจากป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเมี่ยงและภูทองจังหวัดพิษณุโลก
โดยคำระบุชนิด "dhaninivatii" ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแต่พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร (พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต) ผู้ทรงคุณวุฒิปรีชาสามารถรอบรู้ในนานาวิทยาการ เป็นที่นับถือยกย่องในหมู่บัณฑิตทั้งไทยและต่างประเทศ
ชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ)
ชื่อสามัญ (Common name) ของ สิงโตกำมะหยี่ ภาษาอังกฤษ ว่า Dhaninivatt's Bulbophyllum.
ชื่อวิทยาศาสตร์
สิงโตกำมะหยี่ ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Bulbophyllum dhaninivatii Seidenf. เป็นพันธุ์ไม้ไทยในสกุล Bulbophyllum โดยถูกจัดอยู่ในวงศ์ Orchidaceae ซึ่งเป็นวงศ์พืชในอันดับ Asparagales.
ชื่อพ้อง (Synonyms)
- Bulbophyllum tripaleum Seidenf.
- Hordeanthos tripaleus (Seidenf.) Szlach.
อนุกรมวิธานพืช (Plant Taxonomy)
- อาณาจักร (Kingdom) : Plantae
- ไฟลัม (Phylum) : Streptophyta
- ชั้น (Class) : Equisetopsida
- ชั้นย่อย (Subclass) : Magnoliidae
- อันดับ (Order) : Asparagales
- วงศ์ (Family) : Orchidaceae
- สกุล (Genus) : Bulbophyllum
- ชนิด (Species) : Bulbophyllum dhaninivatii
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
สิงโตกำมะหยี่ มีลักษณะวิสัยเป็นกล้วยไม้อิงอาศัยหรือขึ้นบนหิน ลำลูกกล้วยรูปทรงกลม ผิวเป็นมันวาว ขึ้นชิดกันเป็นกอบนเหง้าสั้น ๆ ใบรูปขอบขนาน 2 ใบ กว้างประมาณ 2.5 ซม. ยาวประมาณ 10 ซม. เรียงตรงข้าม ปลายมน ใบแก่สีเหลืองเข้มก่อนหลุดร่วงที่ข้อต่อ
ช่อดอกแบบช่อกระจะสั้น มีเพียง 1 ช่อ ดอกยาวประมาณ 5 มม. เรียงชิดกันแน่น ใบประดับรองรับดอกมีขนาดเล็ก ก้านดอกและรังไข่สั้น มีขนปกคลุม กลีบเลี้ยงบนรูปรี กลีบเลี้ยงคู่ข้างคล้ายรูปคล้ายสามเหลี่ยม ด้านนอกมีขนกำมะหยี่ปกคลุม
กลีบดอกสีม่วงเข้ม รูปขอบขนาน เกลี้ยง กลีบปากสีม่วงคล้ำ รูปขอบขนาน หนาและอวบน้ำ ปลายกลีบมนและโค้งลง เส้าเกสรสีม่วง มีขนาดเล็กและสั้น ที่ปลายมีรยางค์คล้ายเขี้ยวยื่นขึ้น
ออกดอกเดือนไหน
ดอกสิงโตกำมะหยี่ ออกดอกเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ช่วงออกดอกจะทิ้งใบ
นิเวศวิทยา ถิ่นอาศัย
สิงโตกำมะหยี่ เป็นกล้วยไม้ถิ่นเดียวของประเทศไทย พบที่จังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดเลย ขึ้นตามต้นไม้ในวงศ์ก่อ หรือพบบ้างที่เจริญบนก้อนหินในบริเวณที่ร่มมีแสงแดดรำไรในป่าดิบเขา ที่สูงจากระดับทะเลปานกลาง 1,000-1,400 เมตร
สถานภาพ
ไม่พบปลูกเลี้ยงตามบ้านหรือสวนพฤกษตาสตร์ เนื่องจากมีความจำเพาะกับถิ่นที่อยู่ในธรรมชาติ มีประชากรน้อยมาก