ลานป่า (ลาน, ลานกบินทร์) ผลอ่อนกินได้ ชื่อวิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ประโยชน์.
เนื้อหาข้อมูลพันธุ์ไม้ 'ลานป่า'
- ลานป่า คืออะไร
- ชื่อไทย, ชื่อพื้นเมือง (ชื่อท้องถิ่น)
- ประโยชน์และสรรพคุณ
- ชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ)
- ชื่อวิทยาศาสตร์
- อนุกรมวิธานพืช (Plant Taxonomy)
- ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- ออกดอกเดือนไหน
- นิเวศวิทยา ถิ่นอาศัย
- การกระจายพันธุ์
ลานป่า คืออะไร
ลานป่า คือพันธุ์ไม้ไทยชนิดหนึ่งซึ่งเป็นพืชพื้นเมืองที่มีถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติและกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศไทย ถูกจัดอยู่ในกลุ่มพืชดอก (Flowering plants) หรือ Angiosperms ซึ่งเป็นกลุ่มของพืชที่มีดอก มีรังไข่ และมีส่วนที่เรียกว่าออวุล (Ovule) เมื่อเกิดการปฏิสนธิ ออวุลจะเจริญไปเป็นเมล็ด และรังไข่ก็จะเจริญไปเป็นผล (Fruit) เพื่อห่อหุ้มเมล็ดนั้นไว้สำหรับการขยายพันธุ์พืชด้วยเมล็ดพันธุ์ต่อไป
ชื่อไทย, ชื่อพื้นเมือง (ชื่อท้องถิ่น)
พันธุ์ไม้ไทยชนิดนี้ นอกจากมีชื่อไทยว่า 'ลานป่า' แล้วยังมีชื่ออื่นที่เป็นชื่อพื้นเมือง (vernacular name) หรือ ชื่อท้องถิ่น (local name) ซึ่งเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นอีก เช่น ลาน, ลานกบินทร์ เป็นต้น.
ประโยชน์และสรรพคุณ
การใช้ประโยชน์ของลานป่า ใบลานอ่อน ในสมัยโบราณนิยมใช้จารึกหรือจารข้อความที่ต้องการเก็บไว้ได้อย่างยาวนานหลายร้อยปี เช่น พระธรรมในพระไตรปิฎก พงศาวดาร ตำราสมุนไพร ตำราวิชาการ หรือใช้จักสาน เช่น หมวก งอบ พัด กระเป๋า เสื่อ ภาชนะในครัวเรือน ปลาตะเพียนสาน, ก้านใบหรือทางใบ ส่วนกระดูก (เนื้อไม้ใกล้ขอบหนาม) มีเนื้อเหนียวแข็ง แรงมาก ใช้ทำก้านร่ม ก้านกลด ขอบเครื่องจักสาน ตะเกียบ, ผลอ่อน เนื้อในสีขาวค่อนข้างใส เลือกตัดระยะที่ยังมี เนื้ออ่อนนุ่ม รสชาติหอมหวานคล้ายลูกจาก/ลูกชิด หรือนำมาต้มกับน้ำเชื่อม (ลอยแก้ว)
ชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ)
ชื่อสามัญ (Common name) ของ ลานป่า ภาษาอังกฤษ ว่า Corypha, Thai Talipot Palm.
ชื่อวิทยาศาสตร์
ลานป่า ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Corypha lecomtei Becc. ex Lecomte เป็นพันธุ์ไม้ไทยในสกุล Corypha โดยถูกจัดอยู่ในวงศ์ Arecaceae ซึ่งเป็นวงศ์พืชในอันดับ Arecales.
อนุกรมวิธานพืช (Plant Taxonomy)
- อาณาจักร (Kingdom) : Plantae
- ไฟลัม (Phylum) : Streptophyta
- ชั้น (Class) : Equisetopsida
- ชั้นย่อย (Subclass) : Magnoliidae
- อันดับ (Order) : Arecales
- วงศ์ (Family) : Arecaceae
- สกุล (Genus) : Corypha
- ชนิด (Species) : Corypha lecomtei
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลานป่า มีลักษณะวิสัยเป็นปาล์มลำต้นเดี่ยว สูงได้ถึง 15 ม. โคนต้นเส้นผ่านศูนย์กลางไม่รวมกาบ 50-80 ซม. มักมีกาบหรือโคนก้านใบติดคงทนรอบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนเป็นกระจุกที่ปลายยอด มี 15-25 ใบ ก้านใบยาว 2.5-5 ม. ตั้งขึ้น ขอบก้านมีแถบสีดำและมีหนามแบบฟันเลื่อยถี่ ยาว 0.7-1 ซม.
แผ่นใบรูปฝ่ามือ กว้าง 3-4 ม. ยาวประมาณ 4-5 ม. แผ่นใบโค้งคล้ายเคียวตามแนวเส้นกลางใบ เนื้อใบแข็งหนา สีเขียวอมเทา ด้านล่างมีนวลแป้ง มีใบย่อยประมาณ 120-150 ใบ กว้างประมาณ 8 ซม. ยาวประมาณ 2 ม. พับจีบเป็นรางน้ำ ปลายใบแยกเป็นแฉกลึก เข้ามา 1/3 ถึง 1/2 ของความยาว
ออกดอกครั้งเดียวก่อนตาย เมื่ออายุ 50-80 ปี ช่อดอกแบบแยกแขนงรูปกรวยแหลม สูง 10-12 ม. กว้าง 8-11 ม. ออกที่ยอด ตั้งขึ้นตรง ก้านช่อดอกยาว 1.5-2 ม. ดอกย่อยขนาดเล็กมีจำนวนมากถึง หลักล้านดอก สีขาวอมเหลือง ผลแบบเมล็ดเดี่ยวแข็ง ทรงกลมแกมรี กว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-5 ซม. สีเขียวอมเทา มีจำนวนมากถึงหลักหมื่นผลต่อต้น
ออกดอกเดือนไหน
ดอกลานป่า เริ่มแทง ช่อดอกช่วงปลายฤดูร้อน-ต้นฤดูฝน ดอกบานและเริ่มติดผลอ่อนช่วงกลางฤดูฝน แล้วใช้เวลาอีกประมาณ 10 เดือน ผลจึงสุกและเริ่มร่วงหล่น
นิเวศวิทยา ถิ่นอาศัย
ถิ่นอาศัยของต้นลานป่า พบขึ้นตามที่โล่งแจ้งหรือชายป่า ตามทุ่งนาในเขตที่ดอนหรือที่ราบลูกคลื่น บริเวณที่มีชั้นดินลึกมากกว่า 1 ม. และมีการระบายน้ำได้ดี หายากที่จะขึ้นตามเนินเขาลาดชัน ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 30-600 ม.
การกระจายพันธุ์
การกระจายพันธุ์ของต้นลานป่า เป็นพืชถิ่นเดียวระดับภูมิภาค (Regional endemic) พบเฉพาะในภูมิภาคอินโดจีนแถบตอนกลาง และใต้ ประเทศไทยค่อนข้างหายาก มักพบขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวัน ออก ประเทศลาวพบตอนกลางและตอนใต้ กัมพูชา และเวียดนามตอนกลางและตอนใต้