ชะมวง (หมากโมง,ส้มโมง) ชื่อวิทยาศาสตร์ ออกดอกผลเดือนไหน ประโยชน์ สรรพคุณ.
เนื้อหาข้อมูลพันธุ์ไม้ 'ชะมวง'
- ชะมวง คืออะไร
- ชื่อไทย, ชื่อพื้นเมือง (ชื่อท้องถิ่น)
- ประโยชน์และสรรพคุณ
- ชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ)
- ชื่อวิทยาศาสตร์
- อนุกรมวิธานพืช (Plant Taxonomy)
- ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- ออกดอกเดือนไหน
- นิเวศวิทยา ถิ่นอาศัย
- การกระจายพันธุ์
ชะมวง คืออะไร
ชะมวง คือพันธุ์ไม้ไทยชนิดหนึ่งซึ่งเป็นพืชพื้นเมืองที่มีถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติและกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศไทย ถูกจัดอยู่ในกลุ่มพืชดอก (Flowering plants) หรือ Angiosperms ซึ่งเป็นกลุ่มของพืชที่มีดอก มีรังไข่ และมีส่วนที่เรียกว่าออวุล (Ovule) เมื่อเกิดการปฏิสนธิ ออวุลจะเจริญไปเป็นเมล็ด และรังไข่ก็จะเจริญไปเป็นผล (Fruit) เพื่อห่อหุ้มเมล็ดนั้นไว้สำหรับการขยายพันธุ์พืชด้วยเมล็ดพันธุ์ต่อไป
ชื่อไทย, ชื่อพื้นเมือง (ชื่อท้องถิ่น)
พันธุ์ไม้ไทยชนิดนี้ นอกจากมีชื่อไทยว่า 'ชะมวง' แล้วยังมีชื่ออื่นที่เป็นชื่อพื้นเมือง (vernacular name) หรือ ชื่อท้องถิ่น (local name) ซึ่งเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นอีก เช่น หมากโมง, ส้มโมง, ส้มมวง, มวงส้ม, กานิ, กะมวง เป็นต้น.
ประโยชน์และสรรพคุณ
การใช้ประโยชน์ของชะมวง เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง, รากเป็นยาสมุนไพรแก้ไข้ แก้บิด, ต้นให้ยางสีเหลืองใช้ย้อมผ้า, ใบเป็นยา กัดฟอกเสมหะและโลหิต แก้ไอ, ใบอ่อนรสเปรี้ยว กินได้ ใช้ปรุงรสเปรี้ยวในอาหาร เช่น ต้มกับเนื้อสัตว์ต่าง ๆ, ผลดิบ หั่นบาง ๆ ตากแห้งต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้บิด, ผลสุกมีเนื้อหุ้มเมล็ดรสหวานกินได้
ชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ)
ชื่อสามัญ (Common name) ของ ชะมวง ภาษาอังกฤษ ว่า Cowa Mangosteen.
ชื่อวิทยาศาสตร์
ชะมวง ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Garcinia cowa Roxb. ex Choisy เป็นพันธุ์ไม้ไทยในสกุล Garcinia โดยถูกจัดอยู่ในวงศ์ Clusiaceae ซึ่งเป็นวงศ์พืชในอันดับ Malpighiales.
ชื่อพ้อง (Synonyms)
- Stalagmitis cowa (Roxb. ex Choisy) G.Don
อนุกรมวิธานพืช (Plant Taxonomy)
- อาณาจักร (Kingdom) : Plantae
- ไฟลัม (Phylum) : Streptophyta
- ชั้น (Class) : Equisetopsida
- ชั้นย่อย (Subclass) : Magnoliidae
- อันดับ (Order) : Malpighiales
- วงศ์ (Family) : Clusiaceae
- สกุล (Genus) : Garcinia
- ชนิด (Species) : Garcinia cowa
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ชะมวง มีลักษณะวิสัยเป็นไม้ต้น สูง 8-15 ม. ไม่ผลัดใบ มีน้ำยางสีเหลืองขุ่น เปลือกสีน้ำตาลอมดำ แตกเป็น ร่องตื้น-สะเก็ดตามยาว แตกกิ่งตั้งฉากกับลำต้น
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปขอบขนานแกมรี กว้าง 2-5 ซม. ยาว 6-14 ซม. ปลายใบและโคนใบแหลม ขอบใบหุ้มเล็กน้อย เส้นแขนงใบข้างละ 12-18 เส้น เห็นไม่ชัด แผ่นใบ ค่อนข้างหนา ผิวเกลี้ยงทั้ง 2 ด้าน
ดอกแยกเพศต่างต้น ช่อดอกแบบกระจุก ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง และกลีบดอกมีอย่างละ 4 กลีบ สีเหลืองหรืออมสีเขียว กลีบดอกรูปไข่ปลายมน-กลม ยาวประมาณ 1 ซม. เนื้อหนา
ผลทรงกลมแป้น-กลมรี เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-6 ซม. ผิวเรียบหรือมีร่องตื้นตามแนวยาว 4-8 ร่อง ปลายผลมีจุกสีดำ เล็กน้อย ผลสุกสีเหลือง-สีส้ม เนื้อในฉ่ำน้ำ มี 4-8 เมล็ด
ออกดอกเดือนไหน
ดอกชะมวง ออกดอกเดือนธันวาคม - เมษายน เป็นผลเดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม
นิเวศวิทยา ถิ่นอาศัย
ถิ่นอาศัยของต้นชะมวง พบขึ้นตามป่าดิบและป่าเต็งรัง ดินปนทราย หรือดินลูกรังที่มักจะเป็นกรด ที่ความสูงใกล้ระดับน้ำทะเล จนถึงประมาณ 1,100 ม.
การกระจายพันธุ์
การกระจายพันธุ์ของต้นชะมวง สำหรับในประเทศไทยและลาวพบทั่วทุกภาค ประเทศจีนในมณฑลยูนนานตอนใต้ บังกลาเทศ เมียนมาร์ เวียดนาม กัมพูชา และภูมิภาคมาเลเซีย