ปลาซิวเขียว (ปลาซิวตาเขียว) ลักษณะเด่น ชื่อวิทยาศาสตร์ วิธีเลี้ยง กินอะไร อาหาร.

เนื้อหาข้อมูล ปลาซิวเขียว

ปลาซิวเขียว คืออะไร?

ปลาซิวเขียว คือสัตว์จำพวกปลาในกลุ่มปลาน้ำจืดไทยชนิดหนึ่งที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำตามธรรมชาติของไทย ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดไทยที่มีลักษณะสวยงาม จึงนิยมนำมาเลี้ยงในตู้ปลา เป็นปลาสวยงามน้ำจืดของไทย

ปลาซิวเขียว เป็นสัตว์มีแกนสันหลังซึ่งอยู่ในกลุ่มสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง โดยอยู่ในจำพวกปลากระดูกแข็ง (Bony fish) ในชั้นปลาที่มีก้านครีบ (ray-finned fish) ซึ่งจัดเป็นสัตว์เลือดเย็น (Cold-blooded) ที่อุณหภูมิในร่างกายสามารถปรับเปลี่ยนไปตามอุณหภูมิของแหล่งน้ำที่อยู่อาศัย หายใจด้วยเหงือก ช่องเหงือกมองไม่เห็นมีแผ่นแก้มปิดเหงือก มีลักษณะโครงกระดูกเป็นกระดูกแข็ง มีรูปร่างเรียวยาว ลำตัวค่อนข้างแบน มีครีบและหาง ซึ่งใช้ในการทรงตัวและการเคลื่อนไหวในน้ำ

ลักษณะเด่น

ปลาซิวเขียว มีลักษณะเด่น คือ ลำตัวมีแถบยาวสีเขียวเป็นแนวกลางลำตัวทอดยาวจากตอนท้ายของช่อง ปิดเหงือกไปถึงกึ่งกลางฐานครีบหาง ด้านข้างของท้องมีสีเหลืองเหลือบเขียว เวลาว่ายน้ำจะเห็นสีเหลือบเขียวชัดเจน ดูสวยงาม

ชื่อไทย, ชื่อพื้นเมือง (ชื่อท้องถิ่น)

ปลาสวยงามน้ำจืดไทยชนิดนี้ นอกจากมีชื่อไทยว่า 'ปลาซิวเขียว' แล้วยังมีชื่ออื่นที่เป็นชื่อพื้นเมือง (vernacular name) หรือ ชื่อท้องถิ่น (local name) ซึ่งเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นอีก เช่น ปลาซิวตาเขียว เป็นต้น.

วิธีเลี้ยงในตู้ปลา

วิธีเลี้ยงปลาซิวเขียวในตู้ปลา สามารถเลี้ยงเป็นฝูงในตู้ปลาขนาดเล็กที่มีพรรณไม้น้ำ

กินอะไรเป็นอาหาร

ปลาซิวเขียว ปลาซิวตาเขียว ลักษณะ กินอะไร อาหาร วิธีเลี้ยง

Photo by FLAIR WANG.

อาหารของปลาซิวเขียว ในธรรมชาติจะกินแมลงน้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร แต่ในที่เลี้ยงในตู้ปลา สามารถฝึกให้กินอาหารเม็ดได้

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม »

ชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ)

ชื่อสามัญ (Common name) ของ ปลาซิวเขียว ภาษาอังกฤษ ว่า Yellow neon rasbora, Green neon rasboara, Smaragdi rasbora.

ชื่อวิทยาศาสตร์

ปลาซิวเขียว ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Microdevario kubotai (Kottelat & Witte, 1999) เป็นปลาน้ำจืดไทยในสกุล Microdevario โดยถูกจัดอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ซึ่งเป็นวงศ์ปลาน้ำจืดในอันดับปลาตะเพียน (Cypriniformes)

ชื่อพ้อง (Synonyms)

  • Microrasbora kubotai Kottelat & Witte, 1999

อนุกรมวิธาน (Taxonomy)

ลักษณะทั่วไป

ปลาซิวเขียว มีลักษณะ ลำตัวสีพื้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน ด้านล่างของหัวและท้องมีสีเงิน แนวกลางลำตัวมี แถบยาวสีเขียวทอดยาวจากตอนท้ายของช่องปิดเหงือกไปถึงกึ่งกลางฐานครีบหาง แนวกลางตัวรวมถึงตอนบนของหัวและฐานครีบหางมีเม็ดสีดำขนาดเล็กรวมกลุ่ม กันจำนวนมาก ด้านข้างของท้องมีสีเหลืองเหลือบเขียว ครีบอก ครีบท้อง และครีบหางค่อนข้างใส ครีบก้นและตอนบนของครีบหลังมีสีเหลืองอ่อน

การแพร่กระจายและถิ่นอาศัย

การแพร่กระจายและถิ่นอาศัยของปลาซิวเขียว อยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ในลำธารที่น้ำไหลไม่แรงนัก และบริเวณแอ่งน้ำ บริเวณด้านข้างของลำธาร พื้นของแอ่งน้ำเป็นกรวดหินและมีเศษใบไม้ทับถม จำนวนมากพบในลำธารบนภูเขาในพื้นที่จังหวัดระนองและพังงา

การสืบพันธุ์

ปัจจุบันส่วนใหญ่มีการจับจากธรรมชาติเพื่อส่งขายต่างประเทศ กรมประมงสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ และมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเพื่อส่งออกจำหน่ายต่างประเทศต่อไป

ที่มา : อรุณี รอดลอย. (2564). 95 ชนิด ปลาสวยงามน้ำจืดไทย 95 ปี กรมประมง. กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม »

คลิกดิ้! อัปเดตเทรนด์ทุกไลฟ์สไตล์ พร้อมเสิร์ฟสาระดีๆ ที่ให้คุณเพลิดเพลินกับไอเดียใหม่ๆ ได้ทุกวัน แนะนำสินค้าไลฟ์สไตล์ สินค้ามาใหม่ล่าสุด มาแรง ข้อมูลสินค้ายอดนิยม ราคาและโปรโมชั่นล่าสุด ช้อปปิ้งออนไลน์ ได้ของดี ราคาถูก จัดส่งเร็ว เก็บโค้ดส่วนลด โค้ดส่งฟรี คูปองเงินคืน ส่วนลด โปรโมชันพิเศษล่าสุด เปรียบเทียบข้อมูลและราคาสินค้า อัปเดตล่าสุด

Popular Posts

วิธีเลี้ยงปลาหางนกยูง'ให้อาหารวันละกี่ครั้ง กินอะไรได้บ้าง? สูตรอาหารปลาหางนกยูง.

วิธีเลี้ยงปลาออสก้า รวมกับปลาอะไรได้บ้าง อาหารปลาออสก้าชอบกินอะไร ยี่ห้อไหนดี.

ชุดออเจ้า แม่พุดตาน "พรหมลิขิต" ชุดไทย บุพเพสันนิวาส, ชุดแม่การะเกด ชุดพุดตาล.

ชุดคิท วงจรปรีโทนคอนโทรล ยี่ห้อไหนดี? วงจรปรีแอมป์ วงจรปรีโทนเสียงดี ราคาถูก.

เสื้อชั้นใน ใบเฟิร์น พิมพ์ชนก รุ่นใหม่ล่าสุด Sabina Braless เสื้อใน ชุดชั้นใน ราคาถูก.

ปีบ (กาสะลอง) ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ออกดอกเดือนไหน? ประโยชน์ สรรพคุณ.

สาวสนม 'ดงนาทาม' ดอกสีชมพูอมม่วง วนอุทยานน้ำตกผาหลวง จ.อุบลราชธานี

ปลากัดป่าไทย ปลากัดป่าแท้' ในธรรมชาติ พันธุ์พื้นเมืองของไทย' มีกี่ชนิด? อะไรบ้าง.

นกเอี้ยงหงอน ชื่อวิทยาศาสตร์, ชื่อสามัญ? (นกเอี้ยงเลี้ยงควาย, นกเอี้ยงดำ) กินอะไร.

สิงโตนิพนธ์ กล้วยไม้ป่า'ออกดอกเดือนไหน ชื่อวิทยาศาสตร์ ลักษณะ ถิ่นอาศัย หายาก?