ปลาซิวทอง (ปลาซิวทองแดง) ลักษณะเด่น ชื่อวิทยาศาสตร์ วิธีเลี้ยง กินอะไร อาหาร.

เนื้อหาข้อมูล ปลาซิวทอง

ปลาซิวทอง คืออะไร?

ปลาซิวทอง คือสัตว์จำพวกปลาในกลุ่มปลาน้ำจืดไทยชนิดหนึ่งที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำตามธรรมชาติของไทย ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดไทยที่มีลักษณะสวยงาม จึงนิยมนำมาเลี้ยงในตู้ปลา เป็นปลาสวยงามน้ำจืดของไทย

ปลาซิวทอง เป็นสัตว์มีแกนสันหลังซึ่งอยู่ในกลุ่มสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง โดยอยู่ในจำพวกปลากระดูกแข็ง (Bony fish) ในชั้นปลาที่มีก้านครีบ (ray-finned fish) ซึ่งจัดเป็นสัตว์เลือดเย็น (Cold-blooded) ที่อุณหภูมิในร่างกายสามารถปรับเปลี่ยนไปตามอุณหภูมิของแหล่งน้ำที่อยู่อาศัย หายใจด้วยเหงือก ช่องเหงือกมองไม่เห็นมีแผ่นแก้มปิดเหงือก มีลักษณะโครงกระดูกเป็นกระดูกแข็ง มีรูปร่างเรียวยาว ลำตัวค่อนข้างแบน มีครีบและหาง ซึ่งใช้ในการทรงตัวและการเคลื่อนไหวในน้ำ

ลักษณะเด่น

ปลาซิวทอง มีลักษณะเด่น คือ ลำตัวมีสีส้มอมทอง เกล็ดสีเงินวาว มีแถบดำพาดตั้งแต่จะงอยปากไปถึงขอบครีบหางตอนกลาง ครีบสีส้มทอง ครีบหางสีส้มสด นิยมเลี้ยงเป็นเป็นฝูงให้แหวกว่ายอยู่ในตู้พรรณไม้น้ำ

ชื่อไทย, ชื่อพื้นเมือง (ชื่อท้องถิ่น)

ปลาสวยงามน้ำจืดไทยชนิดนี้ นอกจากมีชื่อไทยว่า 'ปลาซิวทอง' แล้วยังมีชื่ออื่นที่เป็นชื่อพื้นเมือง (vernacular name) หรือ ชื่อท้องถิ่น (local name) ซึ่งเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นอีก เช่น ปลาซิวทองแดง, ปลาซิวแถบฟ้า เป็นต้น.

วิธีเลี้ยงในตู้ปลา

วิธีเลี้ยงปลาซิวทองในตู้ปลา สามารถเลี้ยงเป็นฝูงในตู้ปลาขนาดเล็กที่มีพรรณไม้น้ำ

กินอะไรเป็นอาหาร

ปลาซิวทอง ปลาซิวทองแดง, ปลาซิวแถบฟ้า ลักษณะ กินอะไร อาหาร วิธีเลี้ยง

Photo by อรุณี รอดลอย.

อาหารของปลาซิวทอง ในธรรมชาติจะกินไรน้ำ ลูกน้ำ แพลงก์ตอนสัตว์ ตัวอ่อนแมลงน้ำเป็นอาหาร แต่ในที่เลี้ยงในตู้ปลา สามารถฝึกให้กินอาหารเม็ดได้

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม »

ชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ)

ชื่อสามัญ (Common name) ของ ปลาซิวทอง ภาษาอังกฤษ ว่า Slender rasbora, Brilliant rasbora, Blueline rasbora, Blue line rasbora.

ชื่อวิทยาศาสตร์

ปลาซิวทอง ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Rasbora einthovenii (Bleeker, 1851) เป็นปลาน้ำจืดไทยในสกุล Rasbora โดยถูกจัดอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ซึ่งเป็นวงศ์ปลาน้ำจืดในอันดับปลาตะเพียน (Cypriniformes)

ชื่อพ้อง (Synonyms)

  • Leuciscus einthovenii Bleeker, 1851
  • Rasbora einthoveni (Bleeker, 1851)
  • Rasbora labuana Whitley, 1958
  • Rasbora vegae Rendahl, 1926

อนุกรมวิธาน (Taxonomy)

ลักษณะทั่วไป

ปลาซิวทอง มีลักษณะรูปร่างทรงกระบอกเรียว แบนข้างเล็กน้อย ครีบหลังตั้งอยู่กึ่งกลางลำตัว ครีบหางเว้าลึก เส้นข้างลำตัวไม่สมบูรณ์มีถึงเพียงบริเวณหน้าครีบก้น ตัวมีสีส้มอมทอง เกล็ดสีเงินวาว

มีแถบดำพาดตั้งแต่จะงอยปากไปถึงขอบครีบหางตอนกลาง แถบมีขนาดใหญ่ในตอนท้ายลำตัว ครีบสีส้มทอง ครีบหลังมีแถบสีคล้ำหรือเรื่อที่ขอบบน ปลายครีบสีจาง ครีบหางสีส้มสด ครีบก้นมีขลิบสีคล้ำ ขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ 8 ซม.

การแพร่กระจายและถิ่นอาศัย

การแพร่กระจายและถิ่นอาศัยของปลาซิวทอง พบอาศัยในลำธารและอ่างน้ำบริเวณพรุโต๊ะแดงจนถึงพรุในมาเลเซียและสุมาตรา บอร์เนียว

สถานภาพ

ปลาซิวทองถูกจับจากแหล่งที่อยู่อาศัยในธรรมชาติเพื่อส่งขายต่างประเทศทำให้มีความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ พบเฉพาะในแหล่งน้ำบริเวณป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส

ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดสตูล กรมประมงมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเพื่อส่งออกจำหน่ายต่างประเทศ เพื่อลดการจับจากธรรมชาติ รวมทั้งเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรปลาสวยงามไทยให้ยังคงอยู่ต่อไป

การเพาะพันธุ์ปลาซิวทอง

การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ : ปลาที่ได้จากธรรมชาติ นำมาเลี้ยงในบ่อคอนกรีตที่มีปั๊มน้ำขนาดเล็ก ดูดน้ำผ่านระบบกรองแล้วพ่นน้ำเข้าบ่อทำให้เกิดกระแสน้ำหมุนเวียนภายในบ่อและให้อากาศตลอดเวลา สร้างสภาพแวดล้อมให้เหมือนธรรมชาติ และฝึกให้กินอาหารเสำเร็จรูปชนิดเม็ดลอยน้ำขนาดเล็กพิเศษ โปรตีนไม่น้อยกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ วันละ 2 ครั้ง เสริมด้วยไรแดง สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง

คัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีความสมบูรณ์เพศ โดยพ่อพันธุ์ที่มีความพร้อมเมื่อรีดบริเวณท้องเบา ๆ มีน้ำเชื้อสีขาวขุ่นไหลออกมา ส่วนแม่พันธุ์ที่มีไข่แก่ สังเกตจากบริเวณท้องอูมเป่งและนิ่ม ช่องเพศมีสีแดงเรื่อ

นำพ่อแม่พันธุ์ฉีดกระตุ้นด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์ Buserelin acetate 10 ไมโครกรัมต่อพ่อแม่พันธุ์ปลา 1 กิโลกรัม ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ Domperidone 10 มิลลิกรัมต่อพ่อแม่พันธุ์ปลา 1 กิโลกรัม โดยทำการฉีดเข้ากล้ามเนื้อบริเวณโคนครีบหลัง

หลังจากนั้นนำพ่อแม่พันธุ์ใส่ตู้กระจกขนาด 45x45x45 เซนติเมตร ในอัตราส่วนแม่พันธุ์ต่อพ่อพันธุ์ 1:3 จำนวน 4 ชุด โดยในตู้กระจกใส่หัวทรายให้อากาศจัดสภาพแวดล้อมเลียนแบบธรรมชาติ ไข่ลักษณะเป็นไข่จมติดวัตถุ มีรูปร่างกลม สีเหลืองอ่อน เปลือกไข่บางและโปร่งใส ใช้เวลาฟักออกเป็นตัวประมาณ 16 ชั่วโมง

สำหรับอาหารที่ใช้อนุบาลจนถึงอายุ 5 วัน คือ โรติเฟอร์ สำหรับอายุลูกปลาหลังอายุ 5 วันต้องมีการศึกษาวิจัย เพื่อศึกษาอาหารที่เหมาะสมสำหรับลูกปลาวัยอ่อนต่อไป

ที่มา : อรุณี รอดลอย. (2564). 95 ชนิด ปลาสวยงามน้ำจืดไทย 95 ปี กรมประมง. กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม »

คลิกดิ้! อัปเดตเทรนด์ทุกไลฟ์สไตล์ พร้อมเสิร์ฟสาระดีๆ ที่ให้คุณเพลิดเพลินกับไอเดียใหม่ๆ ได้ทุกวัน แนะนำสินค้าไลฟ์สไตล์ สินค้ามาใหม่ล่าสุด มาแรง ข้อมูลสินค้ายอดนิยม ราคาและโปรโมชั่นล่าสุด ช้อปปิ้งออนไลน์ ได้ของดี ราคาถูก จัดส่งเร็ว เก็บโค้ดส่วนลด โค้ดส่งฟรี คูปองเงินคืน ส่วนลด โปรโมชันพิเศษล่าสุด เปรียบเทียบข้อมูลและราคาสินค้า อัปเดตล่าสุด

Popular Posts

วิธีเลี้ยงปลาหางนกยูง'ให้อาหารวันละกี่ครั้ง กินอะไรได้บ้าง? สูตรอาหารปลาหางนกยูง.

วิธีเลี้ยงปลาออสก้า รวมกับปลาอะไรได้บ้าง อาหารปลาออสก้าชอบกินอะไร ยี่ห้อไหนดี.

ชุดออเจ้า แม่พุดตาน "พรหมลิขิต" ชุดไทย บุพเพสันนิวาส, ชุดแม่การะเกด ชุดพุดตาล.

ชุดคิท วงจรปรีโทนคอนโทรล ยี่ห้อไหนดี? วงจรปรีแอมป์ วงจรปรีโทนเสียงดี ราคาถูก.

เสื้อชั้นใน ใบเฟิร์น พิมพ์ชนก รุ่นใหม่ล่าสุด Sabina Braless เสื้อใน ชุดชั้นใน ราคาถูก.

ปีบ (กาสะลอง) ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ออกดอกเดือนไหน? ประโยชน์ สรรพคุณ.

สาวสนม 'ดงนาทาม' ดอกสีชมพูอมม่วง วนอุทยานน้ำตกผาหลวง จ.อุบลราชธานี

ปลากัดป่าไทย ปลากัดป่าแท้' ในธรรมชาติ พันธุ์พื้นเมืองของไทย' มีกี่ชนิด? อะไรบ้าง.

นกเอี้ยงหงอน ชื่อวิทยาศาสตร์, ชื่อสามัญ? (นกเอี้ยงเลี้ยงควาย, นกเอี้ยงดำ) กินอะไร.

สิงโตนิพนธ์ กล้วยไม้ป่า'ออกดอกเดือนไหน ชื่อวิทยาศาสตร์ ลักษณะ ถิ่นอาศัย หายาก?