ปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ (จิ้มฟันจระเข้ใหญ่) ชื่อวิทยาศาสตร์ วิธีเลี้ยง กินอะไร อาหาร.
เนื้อหาข้อมูล ปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์
- ปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ คืออะไร?
- ลักษณะเด่น
- ชื่อไทย, ชื่อพื้นเมือง (ชื่อท้องถิ่น)
- วิธีเลี้ยงในตู้ปลา
- กินอะไรเป็นอาหาร
- ชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ)
- ชื่อวิทยาศาสตร์
- อนุกรมวิธาน (Taxonomy)
- ลักษณะทั่วไป
- การแพร่กระจายและถิ่นอาศัย
- สถานภาพ
ปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ คืออะไร?
ปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ คือสัตว์จำพวกปลาในกลุ่มปลาน้ำจืดไทยชนิดหนึ่งที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำตามธรรมชาติของไทย ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดไทยที่มีลักษณะสวยงาม จึงนิยมนำมาเลี้ยงในตู้ปลา เป็นปลาสวยงามน้ำจืดของไทย
ปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังซึ่งอยู่ในกลุ่มสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง โดยอยู่ในจำพวกปลากระดูกแข็ง (Bony fish) ในชั้นปลาที่มีก้านครีบ (ray-finned fish) ซึ่งจัดเป็นสัตว์เลือดเย็น (Cold-blooded) ที่อุณหภูมิในร่างกายสามารถปรับเปลี่ยนไปตามอุณหภูมิของแหล่งน้ำที่อยู่อาศัย หายใจด้วยเหงือก ช่องเหงือกมองไม่เห็นมีแผ่นแก้มปิดเหงือก มีลักษณะโครงกระดูกเป็นกระดูกแข็ง มีรูปร่างเรียวยาว ลำตัวค่อนข้างแบน มีครีบและหาง ซึ่งใช้ในการทรงตัวและการเคลื่อนไหวในน้ำ
ลักษณะเด่น
ปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ มีลักษณะเด่น คือ ลำตัวเรียวคล้ายไม้จิ้มฟัน ส่วนหัวคล้ายกับหัวจระเข้ จึงมีชื่อเรียกว่า "ปลาจิ้มฟันจระเข้" ลำตัวปกคลุมด้วยแผ่นกระดูกซึ่งเปลี่ยนรูปมาจากเกล็ดซึ่งจะช่วยป้องกันอันตรายจากผู้ล่าได้
ปากยื่นแหลมมีลักษณะเป็นหลอด ปลายปากคล้ายปากแตร มีรูปแบบการสืบพันธุ์พิเศษโดยตัวผู้จะมีช่องว่างหรือถุงตรงบริเวณหน้าท้อง ซึ่งตัวเมียจะทำการย้ายไข่ของตัวเองเข้ามาเก็บไว้ที่ถุงหน้าท้องของตัวผู้ เมื่อขบวนการย้ายไข่เสร็จสิ้น ถุงหน้าท้องจะปิด ตัวผู้จะฉีดน้ำเชื้อไปที่ไข่โดยตรงในถุงหน้าท้อง และไข่จะถูกเก็บไว้จนกว่าจะฟักออกเป็นตัว
พ่อปลาจะเป็นผู้ทำหน้าที่ในการฟักไข่และเลี้ยงลูก ขอบของถุงฟักไข่มีส่วนของแผ่นเกล็ดแผ่ยื่นออกมาทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันอันตรายจากวัตถุภายนอกที่จะมากระทบไข่ แม่ปลาจะฝากไข่ไว้กับตัวผู้หลาย ๆ ตัวเพื่อที่ลูกของมันจะได้ไปอยู่ในที่ปลอดภัยมีโอกาสรอดสูง
ชื่อไทย, ชื่อพื้นเมือง (ชื่อท้องถิ่น)
ปลาสวยงามน้ำจืดไทยชนิดนี้ นอกจากมีชื่อไทยว่า 'ปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์' แล้วยังมีชื่ออื่นที่เป็นชื่อพื้นเมือง (vernacular name) หรือ ชื่อท้องถิ่น (local name) ซึ่งเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นอีก เช่น ปลาจิ้มฟันจระเข้ใหญ่, ปลาจิ้มฟันจระเข้ เป็นต้น.
วิธีเลี้ยงในตู้ปลา
วิธีเลี้ยงปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ในตู้ปลา สามารถเลี้ยงในตู้ขนาดกลางตกแต่งด้วยก้อนหินและพรรณไม้น้ำ
กินอะไรเป็นอาหาร
Photo by อรุณี รอดลอย.
อาหารของปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ ในธรรมชาติจะกินแพลงก์ตอนสัตว์ ลูกกุ้งลูกปลาขนาดเล็ก ตัวอ่อนแมลงน้ำเป็นอาหาร แต่ในที่เลี้ยงในตู้ปลา สามารถฝึกให้กินอาหารสดแช่แข็งได้ เช่น หนอนแดงแช่แข็ง
ชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ)
ชื่อสามัญ (Common name) ของ ปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ ภาษาอังกฤษ ว่า Pipefish, Long-snouted pipefish, Scribbled pipefish.
ชื่อวิทยาศาสตร์
ปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Doryichthys boaja (Bleeker, 1850) เป็นปลาน้ำจืดไทยในสกุล Doryichthys โดยถูกจัดอยู่ในวงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้และม้าน้ำ (Syngnathidae) ซึ่งเป็นวงศ์ปลาน้ำจืดในอันดับปลาจิ้มฟันจระเข้และม้าน้ำ (Syngnathiformes)
ชื่อพ้อง (Synonyms)
- Doryichthys spinosus Kaup, 1856
- Microphis boaja (Bleeker, 1850)
- Syngnathus boaja Bleeker, 1850
- Syngnathus jullieni Sauvage, 1874
- Syngnathus zonatus Károli, 1882
อนุกรมวิธาน (Taxonomy)
- อาณาจักร (Kingdom) : Animalia
- ไฟลัม (Phylum) : Chordata
- ไฟลัมย่อย (Subphylum) : Vertebrata
- ชั้น (Class) : Actinopterygii
- อันดับ (Order) : Syngnathiformes
- วงศ์ (Family) : Syngnathidae
- สกุล (Genus) : Doryichthys
- ชนิด (Species) : Doryichthys boaja
ลักษณะทั่วไป
ปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ มีลักษณะ ลำตัวมีลักษณะเรียวยาวและมีสัณฐานปล้องลำตัวเป็นเหลี่ยม เกล็ดของปลาชนิดนี้ได้เปลี่ยนรูปกลายเป็นแผ่นกระดูกแข็งเป็นข้อ ๆ รอบตัว ปากยื่นแหลมมีลักษณะเป็นหลอด ปลายปากคล้ายปากแตร ไม่มีฟัน ใช้ปากในการดูดอาหาร โดยจะกินกุ้งขนาดเล็กและตัวอ่อนของแมลงที่อาศัยอยู่ตามผิวน้ำ
ปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์สามารถแยกเพศได้โดยดูจากลักษณะภายนอก เพศผู้บริเวณหน้าท้องจะเป็นร่องลึก มีขอบของแผ่นเกล็ดแผ่ยื่นออกมาเพื่อเป็นถุงฟักไข่ ขอบของถุงฟักไข่มีส่วนของแผ่นเกล็ดแผ่ยื่นออกมาทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันอันตรายจากวัตถุภายนอกที่จะมากระทบไข่ ส่วนเพศเมียไม่มีแผ่นเกล็ดยื่นออกมาแต่จะมีเส้นสันท้องเป็นแนวยาว โดยขนาดที่สำรวจพบความยาวประมาณ 15 – 33 เซนติเมตร
การแพร่กระจายและถิ่นอาศัย
การแพร่กระจายและถิ่นอาศัยของปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ พบในแม่น้ำน่าน เจ้าพระยา บางปะกง ท่าจีน แม่กลอง และพบชุกชุมในทะเลสาบสงขลา
สถานภาพ
ปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ถูกจับรวบรวมจากที่อยู่อาศัยในธรรมชาติเพื่อส่งขายต่างประเทศ จึงมีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่องมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ เป็นปลาที่ค่อนข้างอ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคเพื่อนำไปใช้เป็นยาตามเวชศาสตร์แผนจีน เพราะเป็นสัตว์น้ำวงศ์เดียวกันกับม้าน้ำซึ่งมีการจับเพื่อส่งออกไปขายยังตลาดประเทศจีน ฮ่องกง และใต้หวัน และยังเป็นที่นิยมของกลุ่มผู้เลี้ยงปลาสวยงามอีกด้วย
ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพิษณุโลก กรมประมงมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเพื่อส่งออกจำหน่ายต่างประเทศ เพื่อลดการจับจากธรรมชาติ รวมทั้งเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรปลาสวยงามไทยให้ยังคงอยู่ต่อไป
ที่มา : อรุณี รอดลอย. (2564). 95 ชนิด ปลาสวยงามน้ำจืดไทย 95 ปี กรมประมง. กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.